ข่าวและกิจกรรม

โครงการอบรมความรู้สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางจิตวิทยา ประจำปี 2566

 

โครงการอบรมความรู้สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางจิตวิทยา ประจำปี 2566

 

 

 

ศูนย์จิตวิทยาพัฒนาการและความสัมพันธ์ระหว่างวัย (Life Di) คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วม โครงการอบรมความรู้สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางจิตวิทยา ประจำปี 2566 โดย อบรมผ่านโปรแกรม ZOOM ระหว่างวันที่ 3–14 กรกฎาคม 2566 เวลา 18.00 – 21.00 น. รวมใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรมทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง

 

อบรมและบรรยายโดย รองศาสตราจารย์ สักกพัฒน์ งามเอก คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

โครงการอบรมมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านสถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางจิตวิทยาให้แก่ผู้สนใจทั่วไป และเป็นการปรับพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในทฤษฏีทางสถิติที่ใช้ในการศึกษาวิจัยทางจิตวิทยา ให้แก่ผู้ที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านสถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางจิตวิทยาให้แก่ผู้สนใจทั่วไป

 

เนื้อหาการอบรมจะมุ่งเน้นไปที่ พื้นฐานความรู้ด้านสถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย และการนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ โดยคาดหวังว่าผู้ที่เข้ารับการอบรมจะมีความรู้ และความเข้าใจทฤษฎีทางสถิติศาสตร์เบื้องต้น โดยเฉพาะเนื้อหาในด้านสถิติเบื้องต้นสำหรับงานวิจัย ครอบคลุมถึงการวิเคราะห์อิทธิพลส่งผ่านและอิทธิพลกำกับ เพื่อนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ต่อยอดในการทำความเข้าใจ และสร้างผลงานวิจัยทางด้านจิตวิทยาในเชิงลึกต่อไปได้

 

 

หลังเสร็จสิ้นการอบรมผู้เข้าร่วมจะได้รับ เกียรติบัตรรับรองการเข้าร่วมอบรม (E-certificate) โดยจะต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง (15 ชั่วโมง)

 

 

หัวข้อการฝึกอบรม

 

 

 

หลังจากเสร็จสิ้นการอบรมแต่ละครั้ง ทางผู้จัดโครงการจะอัพโหลดไฟล์วิดีโอการอบรมให้ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถเข้ามาดูย้อนหลังได้จนถึงวันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม 2566 เวลา 23.59 น

 

 

อัตราค่าลงทะเบียน

 

 

*บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว

มีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ*

 

 

 

เงื่อนไขการลงทะเบียน

  1. กรุณาชำระค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานก่อนกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
  2. การส่งแบบฟอร์มลงทะเบียน จะต้องแนบหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย จึงจะถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์
  3. เมื่อผู้จัดงานได้ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียนให้ทราบภายใน 3 วัน
  4. บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว สามารถเข้าร่วมการอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
  5. ใบเสร็จรับเงินจะจัดส่งให้ทางไปรษณีย์
  6. เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ทุกกรณี

 

 

 

https://forms.gle/11kSM28TgRh21qWt9

 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาทินี สนลอย

โทร. 02-218-1307 หรือ email: Wathinee.s@chula.ac.th

โครงการอบรมพื้นฐานทางจิตวิทยาพัฒนาการ ประจำปี 2566

 

โครงการอบรมพื้นฐานทางจิตวิทยาพัฒนาการ ประจำปี 2566

 

 

 

ศูนย์จิตวิทยาพัฒนาการและความสัมพันธ์ระหว่างวัย (Life Di) คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วม โครงการอบรมความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาพัฒนาการ ประจำปี 2566 โดย อบรมผ่านโปรแกรม ZOOM ระหว่างวันที่ 12 – 20 มิถุนายน 2566
เวลา 18.00 – 21.00 น. และสอบวัดผล ในวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2566 เวลา 18.00 – 21.00 น. รวมใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรมและสอบวัดผลทั้งสิ้น 24 ชั่วโมง อบรมและบรรยายโดย คณาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

โครงการอบรมมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการให้แก่ผู้สนใจทั่วไป และเป็นการปรับพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในทฤษฏีและการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาพัฒนาการให้แก่ผู้ที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการให้แก่ผู้สนใจทั่วไป

 

เนื้อหาการอบรมจะมุ่งเน้นไปที่ พื้นฐานความรู้ด้านจิตวิทยาพัฒนาการ และความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่าง ๆ ในแต่ละช่วงวัย โดยคาดหวังว่าผู้ที่เข้ารับการอบรมจะมีความรู้ และความเข้าใจทฤษฎีทางจิตวิทยาพัฒนาการ รวมถึงเนื้อหาในด้านจิตวิทยาพัฒนาการเบื้องต้น เพื่อนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ต่อยอดในการทำความเข้าใจ และสร้างผลงานวิจัยทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการในเชิงลึกต่อไปได้

 

 

ผู้เข้าอบรมจะได้รับ วุฒิบัตรเพื่อใช้ประกอบการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา ได้ผู้เข้าอบรมจะต้องผ่านเกณฑ์การวัดผลดังนี้

  • ต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 6 ครั้ง (18 ชั่วโมง)
  • สอบวัดผลข้อเขียน โดยผ่านเกณฑ์การประเมิน 70% ขึ้นไป

 

 

หัวข้อการฝึกอบรม

 

 

 

 

หลังจากเสร็จสิ้นการอบรมแต่ละครั้ง ทางผู้จัดโครงการจะอัพโหลดไฟล์วิดีโอการอบรมให้ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถเข้ามาดูย้อนหลังได้จนถึงวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2566

 

 

อัตราค่าลงทะเบียน

 

 

*บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว
มีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ*

 

 

เงื่อนไขการลงทะเบียน

  1. กรุณาชำระค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานก่อนกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
  2. การส่งแบบฟอร์มลงทะเบียน จะต้องแนบหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย จึงจะถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์
  3. เมื่อผู้จัดงานได้ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียนให้ทราบภายใน 3 วัน
  4. บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว สามารถเข้าร่วมการอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
  5. ใบเสร็จรับเงินจะจัดส่งให้ทางไปรษณีย์
  6. เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ทุกกรณี

 

 

 

https://forms.gle/XdYR5h1GrqgQw2UC9

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาทินี สนลอยโทร. 02-218-1307 หรือ email: Wathinee.s@chula.ac.th

ถอดความ PSY Talk เรื่อง จิตวิทยา กับ มูเตลู : จะ พ.ศ.ไหน ทำไมคนไทยก็ยังมูเตลู

การเสวนาทางจิตวิทยา (PSY Talk) เรื่อง

จิตวิทยา กับ มูเตลู : จะ พ.ศ.ไหน ทำไมคนไทยก็ยังมูเตลู

 

โดยวิทยากร
  • ผศ. ดร.ไตรภพ จตุรพาณิชย์ (อ.เอก)
    หัวหน้าสาขาวิชาสังคมและธุรกิจ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้านครเหนือ
  • อ. ดร.ชาญ รัตนะพิสิฐ (อ.ตั้ว)
    หัวหน้าศูนย์การศึกษาระดับปริญญาตรี และอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะมนุษย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ผศ. ดร.นรุตม์ พรประสิทธิ์ (อ.เป็ก)
    หัวหน้าภาควิชาจิตวิทยา และอาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

วิทยากรและผู้ดำเนินรายการ
  • ผศ. ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์ (อ.หยก)
    รองคณบดี และอาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาสังคมพื้นฐานและประยุกต์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม 2565 เวลา 11.00 – 12.00 น.

 

รับชม LIVE ย้อนหลังได้ที่
https://www.facebook.com/CUPsychBooks/videos/1108806123020728

 

 

 

 

ทำไมสังคมไทยจึงเป็นสังคมแห่งความเชื่อ และเปิดรับความเชื่อจากหลากหลายวัฒนธรรมได้ง่าย


 

อ.ไตรภพ

จริง ๆ แล้วไม่ใช่แค่ไทย มนุษยชาติเราเริ่มต้นมาจากความไม่รู้ และสมองเราวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ เริ่มแรกโดยธรรมชาติของคน วิธีการคิดของเราเราไม่ได้คิดเป็นตรรกะเป็นวิทยาศาสตร์แบบปัจจุบัน เราอาศัยการเชื่อมโยง เราเห็นสิ่งไหนที่ประสบการณ์เราบอกว่ามันเป็นภัยคุกคามเราก็หนีมัน พอเราเจอสิ่งใหม่ เราก็เข้าไปเรียนรู้มัน พอเราวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ สังคมเราเริ่มซับซ้อนขึ้น ความรู้เรายังไม่สามารถไปเข้าใจทุกสิ่งได้ เราก็อาศัยเรื่องเล่า ความเชื่อ ตำนาน เช่น เราอนุมานว่าทำไมฟ้าถึงผ่า ทำไมถึงมีพายุ เราก็มีมโนภาพเกิดขึ้น เราเริ่มมีสัญลักษณ์แทนว่ามันน่าจะมีอะไรเหนือว่าสิ่งที่ตาเราเห็นที่มีอำนาจในการควบคุม ในอีกแง่หนึ่งเรื่องเล่าตำนานพวกนี้มันมีประโยชน์ในการทำให้คนเราพึ่งพากันได้ รวมกลุ่มเป็นชุมชนได้ เพราะฉะนั้นต่อให้เวลามันผ่านมานานแค่ไหน แม้วิทยาศาสตร์เริ่มก้าวหน้าขึ้นมาแล้ว ซึ่งเมื่อเทียบกับไทม์ไลน์ของมนุษยชาติ วิทยาศาสตร์ก็ถือว่าเพิ่งมีไม่นานมานี้เอง ดังนั้นเรื่องเล่า ตำนานต่าง ๆ ความเชื่อ จินตนาการ ยังไงมันก็ฝังรากลึกมากับมนุษยชาติเราอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนก็ตาม จริง ๆ ของต่างประเทศเองเรื่องเล่าตำนานก็มีมากมาย ทั้งเรื่องเทพ เทวดา เมจิกต่าง ๆ ปัจจุบันก็ยังมีอยู่

 

มาที่แถบเอเชียอาคเนย์ แถวบ้านเรา คนแถบนี้ในสมัยก่อนก็จะนับถือภูตผีมาก่อน หรือที่เรียกว่าศาสนาผี และอิทธิพลของพราหมณ์ฮินดูก็เข้ามาด้วย ซึ่งก็จะมีผลกับเรื่องว่าทำไมเราถึงได้มีพิธีกรรมอะไรมากมาย ถ้าเราบอกว่าเรานับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก ซึ่งแก่นของศาสนาพุทธไม่ได้มีเรื่องพวกนี้ แต่เราผูกผสมมาด้วยพิธีกรรมของศาสนาอื่นเข้ามา และมันเป็นคล้าย ๆ กับคุณลักษณะของคนในแถบเอเชียอาคเนย์ด้วยว่าค่อนข้างจะรับอะไรง่าย เราก็ผสมวัฒนธรรมค่อนข้างง่าย ส่วนหนึ่งมองว่ามันเป็นเรื่องการอยู่รอดด้วย ในสมัยที่เรายังไม่ค่อยรู้จักโลกใบนี้มากนัก ดังนั้นความรู้ในเรื่องที่เป็นตำนานความเชื่อ จึงเป็นเรื่องที่เข้าไปอยู่ในใจเราค่อนข้างเยอะ เมื่อเวลาผ่านไป เรื่องเล่าจากรุ่นสู่รุ่นมันก็ฝังอยู่ในใจเราเพราะเราก็ฟังจากคนรุ่นก่อน ๆ

 

ส่วนทางตะวันตก เขานำหน้าเราไป วิทยาศาสตร์ตะวันตกนั้นบูมในช่วงท้าย ๆ ของยุคเรเนซองส์ เป็นช่วงที่คนเริ่มตื่นตัวว่าฉันทนอยู่กับยุคมืดไม่ได้ และออกไปเดินเรือ ออกไปหาอาณานิคม ออกไปเจอความรู้ใหม่ สิ่งที่ตามมาคือความเข้าใจในเรื่องธรรมชาติและความเป็นจริงมากขึ้น เพราะฉะนั้นสเตปของวิทยาศาสตร์เขานำหน้าเราไป แต่อย่าลืมว่าคนทั่วไป ปกติธรรมชาติของเราถนัดการคิดแบบเชื่อมโยง และธรรมชาติมนุษย์เราต้องการประหยัดแรง อะไรที่มันคิดซับซ้อนมาก ๆ มันเหนื่อย ฉันก็จะเอาแบบที่ฉันเข้าใจไว้ก่อน และเวลาที่คนเราคิดอะไรก็ตามมักจะไม่ค่อยอยากให้มันขัดแย้งกับความเชื่อหรือข้อมูลเดิมในสมองเรา เพราะฉะนั้นด้วยธรรมชาติแบบนี้จะให้ทุกคนมานั่งคิดเป็นตรรกะเป็นกระบวนวิทยาศาสตร์ 1 2 3 4 ก็เป็นอะไรที่ขัดกับธรรมชาติมนุษย์โดยส่วนรวม ดังนั้นคนส่วนใหญ่ก็ยังวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ตามแบบที่ฉันเข้าใจ ซึ่งเป็นไปโดยอัตโนมัติ ดังนั้นในโลกตะวันตกที่ก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และมีข้อพิสูจน์อะไรต่าง ๆ มากมาย แต่ความเชื่อก็ยังมี ในเฟซบุ๊คก็จะเจอเพจมูเตลูของฝรั่ง เป็นแมจิก เป็นพ่อมดแม่มด มีเทพสายต่าง ๆ เทพทางสแกนดิเนเวีย เทยสายอียิปต์ก็ยังมีคนนับถืออยู่

 

อ.ชาญ

ด้วยกลไกการคิดของมนุษย์จะพยายามหาเหตุผลในการอธิบายสิ่งต่าง ๆ ถ้าเกิดเราหาเหตุผลอะไรอธิบายไม่ได้ เราจะรู้สึกแปลก ๆ ในใจ แต่ในบางเรื่องที่เกิดขึ้นมามันก็หาเหตุผลมาอธิบายได้ยากจริง ๆ ดังนั้นถ้าเกิดหาเหตุผลไม่ได้ เราอาจจะไปโทษตัวเอง ว่าทำไมฉันโง่ หรือฉันไม่มีความสามารถ ดังนั้นในแง่มุมหนึ่ง ความเชื่อ สิ่งลี้ลับ สิ่งเหนือธรรมชาติ จึงเป็นกลไกการคิดแบบหนึ่งของมนุษย์ที่จะสามารถเอาไว้เป็นการรักษาความมั่นใจและตัวตนของตัวเองได้ เช่น คิดว่าจังหวะชีวิตยังไม่มา ดวงไม่เปิด อะไรยังไม่เอื้ออำนวย

 

อีกส่วนหนึ่งเกี่ยวกับพื้นที่ตั้งหรือวัฒนธรรมของทางซีกตะวันออก ที่มีลักษณะ collectivism หรือคติรวมหมู่ ว่ามีอะไรก็เราก็มักจะคิดถึงคนอื่น ครอบครัว คนรวบข้าง ดังนั้นคนรอบข้างก็จะมีอิทธิพลต่อการคิด ความเชื่อ ความรู้สึกของเราค่อนข้างมาก คนไทยแต่เดิมโดยเฉลี่ยมักอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ ก็จะได้รับค่านิยม ความคิด จากผู้เฒ่าผู้แก่ และเพื่อนรอบตัวเข้ามาค่อนข้างเยอะ และสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เราเปิดกว้าง ทั้งในเรื่องการค้าขาย และการให้คนมีเชื้อชาติหลากหลายเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ด้วยความเป็นมิตรของเราตั้งแต่โบราณกาล ดังนั้นจึงมีการรับเอาวัฒนธรรมที่หลากหลายติดมาพร้อมกับการตั้งถิ่นฐานและการทำการค้า ไปมาหาสู่กัน ประเทศเพื่อนบ้านเราแถบนี้ สมัยโบราณเราก็มีการขยายอาณาเขตหรือยุบอาณาเขต แต่สุดท้ายแล้วก็มีการถ่ายเทวัฒนธรรมกันอยู่แถว ๆ นี้กันไปหมดเลย จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีความเชื่อและวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ที่หลากหลายในประเทศไทย

 

อ.นรุตม์

นอกเหนือจากการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจากคนในอดีต จะเห็นว่าสื่อที่เรารับชมกันในปัจจุบัน ตั้งแต่ละคร ภาพยนตร์ ก็มีการแฝงเรื่องไสยศาสตร์เข้าไปอยู่ แม้แต่ในข่าว นอกจากการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ก็จะเห็นว่าวิธีการทางความเชื่อต่าง ๆ ก็เข้ามาร่วมด้วย และคนส่วนหนึ่งก็ให้ความสนใจและเชื่อในทางนั้นมากกว่าวิทยาศาสตร์ด้วยซ้ำ จะเห็นว่า ณ ปัจจุบันเองเราก็มีการถ่ายทอดเรื่องพวกนี้ไปสู่สังคมด้วยเหมือนกัน ในคนที่ทำสื่อ

 

อีกประเด็นหนึ่งเรื่องกระบวนการคิด คนเราขี้เกียจคิดเยอะ วิทยาศาสตร์ต้องคิดวิเคราะห์ว่าปัญหาคืออะไร ขั้นตอนคืออะไร แต่ธรรมชาติของเราเราชอบอะไรง่าย ๆ เราชอบทางลัด เราชอบคิดเร็ว ๆ การดูดวงหรือสีมงคล คำตอบมันจบในครั้งเดียว ว่าฉันใส่สีนี้ฉันโชคดีแล้ว หรือมีเครื่องรางนี้ชีวิตฉันจะดี ทั้งนี้เวลาดูดวง หมอดูมักจะบอกเราว่า “ช่วงนี้” พอเขาใช้คำว่าช่วงนี้ แปลว่าเรายังมีโอกาส ถ้าพ้นช่วงนี้ไป ดวงดาวมีการเคลื่อนย้าย เวลาเปลี่ยนไปเราจะมีโชค ดวงเราจะเปลี่ยนได้ เราก็จะรู้สึกดีขึ้น มีความหวัง เราจึงฝังคตินี้ไปเรื่อย ๆ

 

 

บางคนก็เชื่อเรื่องพวกนี้มาก บางคนก็ปฏิเสธความเชื่อเหล่านี้ ความแตกต่างระหว่างบุคคลคืออะไร


 

อ.ไตรภพ

ขออธิบายด้วยทฤษฎี Locus of control ความเชื่อว่าตัวเราเองมีอำนาจในการควบคุมชีวิตเรามากน้อยแค่ไหน ซึ่งความเชื่อนี้เป็นลักษณะทางบุคลิกภาพแบบหนึ่งที่สามารถจำแนกได้ เป็นสเปกตรัม เป็นสเกลไล่ลำดับว่าคนนี้มีมากหรือมีน้อย มันก็จะแบ่งเป็นสองฝั่ง คือฝั่งที่เชื่อว่าตัวเองสามารถควบคุมชีวิตตัวเองได้ ว่าเราอยากจะดีหรือไม่ดีอย่างไร เราต้องลงมือทำเราต้องจัดการ อันนี้เรียกว่า อำนาจควบคุมภายใน (Internal locus of control) อีกอันหนึ่งเป็นอำนาจควบคุมภายนอก (External locus of control) อันนี้จะเชื่อว่าชีวิตเราเอาจริง ๆ แล้วมันมีอะไรหลายอย่างที่มีอิทธิพลกับเรามากมาย เราไม่สามารถไปจัดการหรือคาดการณ์อะไรได้ เดี๋ยวเราก็เจอคนนี้มาบอกแบบนั้น พ่อแม่มาบอกแบบนี้ ไปเรียนวิชานี้แล้วจะเจอครูแบบไหน ดุหรือไม่ดุ หรือเราจะลงทุนอะไรสักอย่างหนึ่ง ตลาดหุ้นกำลังน่าช้อนหุ้น พอเจอสงครามก็ดิ่งลงมาเป็นลบ อันนี้ก็ถือว่าชีวิตเราจริง ๆ แล้วก็มีทั้งส่วนที่เราควบคุมได้ และส่วนที่เราควบคุมไม่ได้ ถ้าใครเชื่อว่าชีวิตของเราล่องลอยเหมือนฟองสบู่ไปทางนั้นทีทางนี้ทีแล้วแต่ใครจะพาไป ถ้ามีความเชื่อนี้เยอะ โอกาสที่เราจะมูก็จะเยอะขึ้น

 

ความเชื่อเรื่องอำนาจควบคุมชีวิตนั้นมีรากเหง้าตั้งแต่การเลี้ยงดูในวัยเด็ก ถ้าเด็กคนไหนถูกเลี้ยงมาแบบพ่อแม่ตีกรอบมาก ๆ เด็กไม่สามารถที่จะคิดจะติดสินใจอะไรได้เองเลย เด็กก็จะรู้สึกว่าฉันไม่มีอำนาจที่จะใช้ชีวิตฉันเลย ก็จะพัฒนาเรื่องความเชื่อภายนอกมากกว่าความเชื่อภายใน เพราะฉะนั้นถ้าอยากจะเปลี่ยนความเชื่อนี้ เปลี่ยนเจตคติ เปลี่ยนความคิดของเรา ก็ต้องเริ่มจากการที่เราต้องพยายามมากขึ้น ลองทำอะไรใหม่ ๆ มากขึ้น

 

ไม่ได้จะบอกว่าคนที่เชื่ออำนาจภายในมากกว่าจะชีวิตที่ดีกว่าคนที่เชื่ออำนาจภายนอก มันเป็นแค่สไตล์ความเชื่อที่ต่างกัน แต่คนที่เชื่ออำนาจภายในมากกว่ามีโอกาสที่จะยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ดีกว่าคนที่เชื่ออำนาจภายนอก ทั้งนี้เราต้องรู้ว่าชีวิตเราไม่มีอะไรที่ได้ดั่งใจเราทุกอย่าง ตัวเราเองไม่ใช่ศูนย์กลางของโลก เรามีโอกาสเจอทั้งเรื่องดีและเรื่องร้าย แต่ถ้าเกิดเราคาดหวังมากเกินไปว่าฉันรับไม่ได้ถ้าต้องเจอเรื่องความผิดหวัง ความล้มเหลว เราก็มีโอกาสจะหาที่พึ่งพาภายนอกมากขึ้น และเราจะหลงลืมตัวตน ความสามารถและความเข็มแข็งของเราไป

 

อ.ชาญ

มีงานวิจัยที่บ่งชี้ว่าคนที่มีบุคลิกภาพแบบอ่อนไหว คือเมื่อมีสิ่งใดเข้ามากระทบ จะมีความรู้สึกตอบสนองที่ไวหรือรุนแรงมากกว่าบุคคลทั่วไป บุคคลที่มีบุคลิกภาพอ่อนไหวสูงมักที่จะโอนอ่อนตามสิ่งเร้าหรือเรื่องต่าง ๆ ที่ตัวเองประสบพบเจอได้มาก และบุคลิกภาพอ่อนไหวสูงก็สัมพันธ์กับความเชื่ออำนาจควบคุมภายนอก ด้วยกลไกเหล่านี้ รวมกับลักษณะ self-serving bias ที่เวลาทำอะไรสำเร็จเราก็บอกว่าเป็นเพราะตัวเรา แต่ถ้าเราทำอะไรล้มเหลว ความต้องการจะรักษาความรู้สึกว่าตัวเองยังคงมีความสามารถ มีความมั่นใจและไปต่อได้ จึงต้องหาบางอย่างที่จะโทษว่าความล้มเหลวนั้นไม่ได้เกิดจากฉัน บางครั้งการโทษคนอื่นทำได้ยาก ก็โทษที่ดวง ที่สีเสื้อ ที่เวรกรรม โทษในสิ่งที่ไม่มีชีวิต มันก็สะดวกใจดี

 

นอกจากนี้ความคิดอะไรก็ตามที่มันฝังหัวเราไปแล้วมันก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลง ถ้าเราเหนื่อยล้ากับการใช้ชีวิตแล้วเราก็ไม่อยากจะคิดมาก เราก็พึ่งข้อมูลเดิมที่เราเคยฝังใจหรืออยู่ในสมองอยู่แล้ว เราก็ใช้มันอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราไปเลย ซึ่งบ่อยครั้งมันก็จะเป็นความเชื่อส่วนบุคคล แล้วเราก็บอกว่านี่เป็นความเชื่อส่วนบุคคล

 

อ.นรุตม์

งานวิจัยเมื่อประมาณปี 2020 เขาศึกษาเรื่องบุคลิกภาพแบบหลงตนเอง คนหลงตนเองก็จะเป็นคนที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์และเอกลักษณ์ของตนเองมาก ๆ เพราะฉะนั้นคนที่หลงตนเองมีแนวโน้มที่จะเอาใจเอนเอียงไปกับการดูดวงและการมูที่ทำนายเกี่ยวกับตนเอง เพราะคำทำนายพวกนั้นเป็นการบ่งบอกถึงลักษณะเฉพาะหรือเอกลักษณ์ที่มีความพิเศษของแต่ละคน ซึ่งมันไปเติมความต้องการของคนหลงตนเอง

 

อีกเรื่องหนึ่งคือ บุคลิกภาพแบบ agreeableness คือเป็นคนค่อนข้างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี เห็นอกเห็นใจคนอื่น คนกลุ่มนี้มักจะมีความเชื่อหรือให้ความสำคัญกับหลักธรรมคำสอน ศาสนา เมื่อไปตามที่อ.ไตรภพอธิบายไว้ตอนแรกว่าการมูเตลู การดูดวง หรือโหราศาสตร์ ได้ผูกไว้กับความเชื่อทางศาสนา เพราะฉะนั้นจึงมีแนวโน้มที่คน agreeableness สูงจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ค่อนข้างมาก

และจะเสริมจากอ.ชาญ ที่พูดถึงเรื่องการลำเอียงเข้าข้างตนเอง คนเราจะมีความลำเอียงหนึ่ง คือ การลำเอียงเพื่อยืนยันความคิดของตนเอง (confirmation bias) หลาย ๆ ครั้งเวลาเราไปดูดวงเราจะเก็บข้อมูลจากที่หมอดูทำนาย บางคนอาจจะจดไว้แล้วคอยเช็ค พอเรามีข้อมูลตั้งต้นแบบนี้ คนเราก็มีแนวโน้มค้นหา ใส่ใจ หรือหาหลักฐานข้อมูลเพื่อยืนยันข้อมูลที่เราเก็บไว้ ในที่นี้คือคำทำนาย แล้วเราก็จะบอกว่าแม่นจังเลย หมอดูคอนนี้เจ๋ง

 

หรืออีกกรณีหนึ่งคือ ความคาดหวังของเราไปสร้างให้เกิดผลจริง ๆ ขึ้นมา บางครั้งเวลาเราไปดูดวง หมอดูบอกว่าปีนี้ปังมาก ประสบความสำเร็จแน่นอน พอเราได้ข้อมูลแบบนี้มา กลับมาเราก็ฮึกเหิม มีกำลังใจ เกิดอุปสรรคอะไรก็พร้อมสู้ พร้อมลุย เพราะหมอดูบอกว่าปีนี้เราจะปัง เราเลยทำ มันเลยกลายเป็นว่าความคาดหวังของเราที่มาจากคำทำนาย ไปทำให้เกิดพฤติกรรมจริง ๆ ในทางกลับกัน ถ้าหมอดูบอกว่าปีนี้เราจะพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก ชีวิตมีปัญหา เวลาเราไปทำงาน เจอปัญหานิดปัญหาหน่อย เรานึกถึงหมอดู แก้ปัญหาไป สู้ไป ก็ไม่น่าจะไหว ปีนี้โชคไม่ดี ก็ไม่ลงมือแก้ปัญหา ไม่ทำอะไร งานก็ไม่เกิด ความสำเร็จก็ไม่เกิด

 

 

ความเครียดความกดดันในปัจจุบันส่งเสริมให้คนหาทางออกด้วยการมูฯ มากขึ้นหรือไม่


 

อ.ไตรภพ

ตามทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นของมาสโลว์ ที่บอกว่ามนุษย์เราเกิดมาล้วนแต่วิ่งหาความต้องการ ขั้นที่ 1 เรื่องความอยู่รอด ปัจจัยสี่ ขั้นที่ 2 เรื่องความปลอดภัย ขั้นที่ 3 เรื่องความสัมพันธ์ ขั้นที่ 4 การเป็นคนเก่งได้รับคำชื่นชม ขั้นที่ 5 การเข้าใจตนเอง ผมมองว่าการมูฯ เข้ามาตอบโจทย์ความต้องการของมนุษย์เหล่านี้ ซึ่งแต่ละคนมีความต้องการต่างกัน

หากสังคมมองว่าการที่เราออกไปทำมาหากินในแต่ละวันมันยากลำบาก หรือกลัวว่าออกจากบ้านไปจนโดนรถชนตาย มีใครมาแทงตายหรือเปล่า มีแต่ความไม่แน่นอน ทำนายไม่ได้ ก็กลับไปสู่เรื่อง locus of control ที่เราอาจจะมั่นใจว่าเราควบคุมชีวิตได้ แต่สังคมแวดล้อมเราไม่ได้มีสิ่งอำนวยความสะดวกหรือระบบระเบียบที่ทำให้แน่ใจได้ว่าฉันจะมีความปลอดภัยในชีวิต ฉันจะได้รับทรัพยากร ได้เงินเดือน ได้กินอิ่มนอนหลับ บางคนก็รู้สึกขาดตรงนี้ จึงเป็นเหตุผลว่าในเมื่อฉันพยายามแล้วฉันทำไม่ได้ ฉันก็ขอพึ่งพาอิทธิพลอะไรที่อยู่เหนือกว่าฉันขึ้นไป โดยมีความหวังว่ามันก็น่าจะดีขึ้น ดังนั้นผมมองว่า การมูฯ ส่วนหนึ่งสะท้อนถึงความต้องการส่วนตัวของคนได้ และอีกส่วนหนึ่งสะท้อนถึงคุณภาพชีวิตในสังคมนั้น ๆ ได้ด้วย

 

อ.ชาญ

การที่เราดูหมอดูหรือเสี่ยงเซียมซีก็เป็นการเลือกรับรู้ด้วยส่วนหนึ่ง อันไหนที่ดีให้กำลังใจเราเราก็เก็บไว้ ถ้าได้ไม่ดี เผาทิ้งเสี่ยงใหม่ หรือในการดูดวงเราก็เลือกรับรู้แค่บางประเด็น เรื่องไหนเกิดขึ้นจริงเราก็รับรู้ว่าหมอดูคนนี้แม่น แต่ถ้าหมอดูคนไหนทักว่ามีเรื่องต้องระวังเยอะ เราก็สงสัยว่าหมอดูคนนี้แม่นหรือเปล่า แล้วไปหาหมอดูคนอื่นที่จะพูดในสิ่งที่เราอยากฟัง ที่ช่วยลดความกังวลลดความเครียดให้เราได้

คนบางส่วนไปหามอดูเพราะตนเองตัดสินใจบางเรื่องไม่ได้ ต้องการพึ่งพาคนที่ช่วยใช้อะไรบางอย่างในการเสริมความคิดของเราว่าควรไปในทิศทางใดดี หลาย ๆ ครั้งไปถามเพื่อน เพื่อนก็ไม่กล้าช่วยตัดสินใจ ถามครอบครัว ครอบครัวก็ไม่สนับสนุน ที่พึ่งสุดท้ายบางคนก็เลยไปดูดวง ไปหาข้อมูลว่าใครจะช่วยเพิ่มความมั่นใจ เสริมในสิ่งที่ตนเองต้องการ ก็เริ่มที่จะบ่มเพาะกำลังใจขึ้นมา หรือคลายความกังวล ถ้าเจ้าไหนให้คำเตือนมา ก็ได้กระตุกสติของเราไม่ให้ประมาท เหล่านี้จึงกลายเป็นสิ่งที่ใช้เสริมการดำเนินชีวิตของคนไทยหรือคนทั่วโลกมาโดยตลอด

 

อ.นรุตม์

การมูเตลูมันเริ่มมาจากการที่คนเรารู้สึกไม่แน่นอน รู้สึกกังวลใจ ตัดสินใจไม่ได้ สุดท้ายก็ไปหาทางออก ซึ่งหมอดูก็เป็นทางเลือกทางออกหนึ่งที่ให้เราได้ข้อมูลพวกนั้นมา ที่ให้เรารู้สึกสบายใจขึ้นหรือมั่นคงมากขึ้น มีทิศทางที่จะเดินไปมากขึ้น แล้วเราค่อยตัดสินใจอีกทีหนึ่งว่าจะทำตามเขาหรือเปล่า บางเจ้าเขาก็จะบอกมาเสร็จสรรพเลยว่าต้องทำแบบนั้นแบบนี้ ซึ่งก็อาจไม่ใช่การแก้ปัญหาตรง ๆ แต่มันเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้เจ้าตัวรู้สึกมีกำลังใจมากขึ้นมั่นใจมากขึ้น และส่งผลต่อพฤติกรรมที่เราจะลงมือทำอะไรต่อไป

 

อ.ไตรภพ

คำแนะนำของหมอดูมันเหมือนกับว่าทำให้เรากลับมามีอำนาจควบคุมภายในอีกครั้งหนึ่ง เหมือนกันว่า โอเค หลาย ๆ อย่างฉันควบคุมไม่ได้ใช่ไหม แต่หมอดูบอกว่าให้ทำแบบนี้นะ 1 2 3 4 เมื่อฉันทำแล้ว มันก็คล้าย ๆ การ empowerment หรือเสริมพลังเรา ส่วนตัวจึงมองว่าการมูฯ มีประโยชน์ในการที่ช่วยเสริมพลังให้กับคนให้เขารู้สึกว่ามีโอกาสควบคุมชีวิตได้มากขึ้น ทำให้เขารู้สึกมีแรงมีกำลังใจในการต่อสู้ชีวิตมากขึ้น หรือมีโอกาสที่เขาจะได้ในสิ่งที่เขาอยากได้

 

อ.ชาญ

เวลาเรารู้สึกเครียด แล้วได้ไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไปทำบุญ ทำสิ่งบวก ๆ ตามคำแนะนำของหมอดู มันก็ทำให้เรารู้สึกดีขึ้น เกิดอารมณ์ทางบวกมากขึ้น มันก็ช่วยกดความวิตกกังวล ความเครียดลงไปได้ชั่วคราว ทำให้เราอยู่กับตัวเองได้ดีขึ้น และเวลาที่เราไปทำบุญ ก็เป็นการเชื่อมโยงบุคคลหลาย ๆ คนเข้ามา เพราะหลายคนเวลาที่ตัวเองจะไปไหว้พระก็ชวนเพื่อนไปด้วย ไปคนเดียวเหงา ตอนแรกไหว้พระเป็นหลัก ตอนหลังเป็นรองไปแล้ว กลายเป็นได้จับกลุ่มเม้ามอยต่อ ได้ออกมาเจอผู้คน ได้มีสังคม ได้กลับมารู้สึกว่ามีสิ่งบันเทิงจิตใจ ความเป็นสัตว์สังคมของเรา การได้มีสังคมก็ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายขึ้นและลดความเครียดไปได้

 

 

แล้วการมูเตลูเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดหรือไม่


 

อ.นรุตม์

การแก้ปัญหาที่ตรงจุดก็ต้องแก้ที่ตัวปัญหา ถ้าเรามีปัญหาที่งานก็ต้องแก้ที่ตัวงานหรือที่พฤติกรรมการทำงาน แต่ถ้าเราไปหาหมอดู ไปมูเตลู ไปมีสีมงคล มันก็ไม่ได้ลงไปเฉพาะเรื่องเหมือนที่เราลงมือกระทำ แต่ผมมองว่ามันเป็นเรื่องกำลังใจ ทำให้เรารู้สึกมีกำลังใจ มีความหวัง ว่ามันน่าจะดีขึ้นได้ เช่นถ้าเดินไปหาหัวหน้างาน เขาก็น่าจะเมตตาเรามากขึ้น เพราะวันนี้เราใส่สีที่เสริมเมตตามหามงคล มันก็เป็นเรื่องของกำลังใจ และการที่หมอดูทำนายดวงเป็นช่วง ๆ ว่าช่วงนี้เป็นอย่างไร เราก็ยังมีความหวังว่าไม่ใช่ว่าชีวิตจะแย่ตลอดไป เราไม่ได้โชคร้ายตลอดชีวิต เรายังมีโอกาส เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่องของจิตใจมากกว่า

 

 

ในสังคมไทยหลายครั้งคนก็ไปหาหมอดูมากกว่านักจิตวิทยาเวลามีเรื่องในใจ มองอย่างไร


 

อ.ไตรภพ

วิทยาศาสตร์ถ้าเรารู้ความจริงบางอย่างเราก็จะหมดอารมณ์ไปเลย เพราะมันไม่มีสตอรี่ ขณะที่เรื่องเล่า จินตนาการ มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์มาตั้งแต่แรก ธรรมชาติของคนเราชอบสตอรี่ แม้ว่ามีหลักฐานเชิงประจักษ์ ขนาดว่าตาเราเห็น เรายังไม่อยากเชื่อเลย เราก็ยังคิดว่ามันต้องมีอะไรมากกว่านี้สิ เพราะสมองเราชอบเชื่อมโยงเรื่องราว เราอยู่ในยุคทุนนิยม สินค้ามีให้เลือกมากมาย สินค้าบางอย่างเราไม่ได้ซื้อเพราะคุณภาพมันอย่างเดียว เราซื้อเพราะสตอรี่มัน เรายอมจ่ายราคาแพงเพื่อได้ครอบครองของชิ้นนั้น แบรนด์นั้น ซึ่งผมมองว่ามันก็เป็นมูฯ อย่างหนึ่ง เพราะเราได้สร้างสตอรี่ขึ้นในใจ

 

ดังนั้นถ้าถามว่าทำไมคนถึงไม่เข้าหานักจิตวิทยามากนัก เพราะบางทีคนยังมี boundary มีเส้นกั้นระหว่างวิทยาศาสตร์กับชีวิตประจำวันอยู่ หมอดูเป็นอะไรที่เข้าถึงได้ง่ายกว่า คุณไปตรงนี้สิเขาว่าเจ้านี้แม่นนะ มันเป็นวิถีชีวิต และคาดหวังได้ว่าฉันน่าจะได้ฟังอะไรบางอย่างที่ฉันไม่เคยได้รู้มาก่อน ตรงนี้เลยมองว่า เอาจริง ๆ นักจิตวิทยาและหมอดูมีความเหมือนกันตรงที่ นอกจากทำนายแล้วคุณยังชี้นำพฤติกรรมเขาได้ว่าเขาควรจะต้องปรับปรุงตัวอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับจรรยาบรรณของหมอดูด้วย

 

อ.ชาญ

อะไรที่มันเกินพอดีมันก็ไม่ดีทั้งนั้น มีงานวิจัยมากมายที่บอกว่าใครที่พึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พึ่งการดูดวง หรือพึ่งพาอำนาจนอกตัวมาก สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นเลยหรือ ความสามารถในการคิดประมวลผลจะลดลง สิ่งที่ตามมาคือจะมีความมั่นใจในตนเองลดลง เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือการทำนายมันจะมีทั้งที่ตรง ไม่ตรง ถูก และผิด ซึ่งถ้าเราเชื่อและทำในทางที่มันผิด ผลมันก็ออกมาไม่สำเร็จ บางครั้งมันก็ทำให้เราเครียดอีก นั่งคิดอีกว่าทำไมมันไม่สำเร็จ ทั้งที่เราทำตามคำทำนายและสิ่งศักดิ์สิทธิ์บอกไว้แล้ว ซึ่งทางที่ดีมันก็คือการที่เราต้องแก้ที่ต้นเหตุ แต่บางครั้งเราหาต้นเหตุไม่เจอว่าคืออะไร เพราะเราไม่มีสมาธิและจิตใจที่นิ่งพอ เราก็เห็นแต่ปัญหาเล็ก ๆ และที่ไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง พอเราแก้ในปัญหาเล็ก ๆ เหล่านั้น แต่ปัญหาใหญ่ยังไม่ถูกแก้ เราก็จะรู้สึกว่าทำไมเรายังทุกข์อยู่ ทำไมยังไม่สามารถแก้ได้สำเร็จ

 

ท่านที่มีสติหรือได้มีเวลาอยู่กับปัญหาสักพัก และทำใจให้เย็น ๆ ไม่ใจร้อนเกินไป จะเริ่มเห็นภาพรวมของปัญหา และมองเห็นได้ว่าปัญหานั้นเกิดจากอะไร และเห็นถึงจุดที่สามารถเข้าไปแก้ไขได้ด้วยตัวเองด้วยซ้ำ โดยที่ไม่ต้องพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่งเหนือธรรมชาติเลย แต่ก็อย่างที่คุยกันว่าการมูฯ ก็มีประโยชน์อยู่บ้างที่ช่วยให้คนจิตใจเย็นลง อารมณ์ดีขึ้น ตอนแรกคิดไม่ออก เดินไปหยอดตู้ทำบุญ ไปเลี้ยงขนมน้อง เห็นคนยิ้มเห็นคนมีความสุข เราก็ใจเย็นลง มีสติมากขึ้น ก็จะช่วยให้เรากลับไปย้อนมองปัญหานั้นอย่างละเอียดขึ้น ก็เริ่มที่จะแก้ไขปัญหานั้นได้ด้วยตัวเอง

 

อ.นรุตม์

หมอดูหรือความมูเตลูทั้งหลายมันเข้าถึงได้ง่ายกว่า มีเยอะกว่า สมมติว่าเราเจอคำทำนายของหมอดู A แล้วไม่ตรงกับใจเรา เราก็หาคำทำนายจากหมอดูคนอื่นได้ ที่จะสอดคล้องกับความคิดเรา ปัจจุบันตอนนี้เทคโนโลยีมันเอื้ออำนวยให้เราเข้าถึงคำทำนายพวกนี้ได้ง่ายด้วย ก็เลยยิ่งทำให้สิ่งนี้คงอยู่ต่อไปเรื่อย ๆ

 

อ.ชาญ

มันอยู่รอบตัวเรามากกว่าที่เราคิด เว็บไซต์ข่าวหรือหนังสือพิมพ์เปิดมาก็เจอคอลัมน์พวกนี้ มันก็เลยเข้าถึงง่ายกว่านักจิตวิทยา ตอนนี้ทั้งสังคมไทยและสังคมทั่วโลกก็มีความเข้าใจมากขึ้นว่าถ้าเรามีปัญหาอะไรก็สามารถไปหานักจิตวิทยาได้ เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ดี แต่ในเรื่องการเข้าถึงอาจจะยังไม่ทั่วถึงหรือเข้าถึงยากกว่า รวมถึงค่าใช้จ่ายอะไรต่าง ๆ มันก็สูงกว่า เพราะฉะนั้นทั้งในแง่ความเข้าถึงง่ายและในแง่ความสามารถในการจ่ายเพื่อผ่อนคลายความทุกข์ที่แตกต่างกัน ทางสายมูฯ ก็ตอบตรง ๆ ว่าใช้น้อยกว่าโดยเฉลี่ย จึงยังเป็นที่พึ่งหลักของคนกลุ่มหนึ่งอยู่

 

อ.นรุตม์

ถ้ามองในแง่กระบวนการทำงานของนักจิตวิทยา นักจิตวิทยาจะมีระบบระเบียบมีชั้นมีตอนในการให้คำปรึกษาหรือการให้ความช่วยเหลือ เขาจะไม่ได้บอกตรง ๆ ว่าให้ทำแบบนั้นแบบนี้ หรือไปตัดสินใจให้ นักจิตวิทยาจะมีวิธีการที่ค่อย ๆ ให้ผู้รับบริการรู้ปัญหา ตัดสินใจ และจัดการกับปัญหาได้ด้วยตนเอง แต่ในกรณีของหมอดู หมอดูจะเป็นคนแนะนำเลยว่าคุณมีเคราะห์เรื่องนี้ คุณไปจัดการเรื่องนี้สิ คุณโชคไม่ดีคุณใส่สีนี้สิ มันง่ายกว่า คนไปหาหมอดูแล้วได้คำตอบเลย ทำได้เลยทันที โดยที่ไม่ต้องใช้เวลาเยอะไม่ต้องคิดเยอะ

 

 

แบบไหนถึงเรียกว่างมงาย ที่เป็นการเชื่อมากเกินไป


 

อ.ไตรภพ

ทุกอย่างมีลิมิตของมัน ตอนนี้วิทยาศาสตร์ก้าวหน้ามาก ในช่วง 20 ปีนี้เรียกได้ว่าก้าวกระโดด คำตอบบางอย่างที่เป็นปริศนามานาน ตอนนี้เราสามารถรู้ได้ และต่อไปการค้นพบพวกนี้ก็จะไปตอบปัญหาที่เป็นมูเตลูสมัยก่อนได้อีกหลายข้อ แต่ทั้งนี้วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่เหนื่อยในการทำความเข้าใจ เพราะมันยาก ดังนั้นมูเตลูก็จะยังคงอยู่ในสังคมมนุษย์ไปอีกนาน แต่มันจะสะท้อนอย่างหนึ่งตรงที่ว่ามันควรไหมที่เราจะต้องกระจายการศึกษาให้มันครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ให้คนในทุกที่สามารถเข้าใจในวิทยาศาสตร์พื้นฐานได้ อย่างน้อยถ้าคนเข้าใจในวิทยาศาสตร์มากขึ้น ความเชื่อในมูฯ บางเรื่องในลักษณะที่มันเกินไปจะได้ค่อย ๆ หายไปหรือลดลง

 

จุดตัดที่สำคัญเลยคือ คนที่เชื่อเรื่องมูฯ จะเป็นคนที่ค่อนข้างเปิดใจรับหรือเชื่ออะไรได้ง่ายอยู่แล้วโดยบุคลิก ก็จะทำให้กลายเป็นเหยื่อง่ายสำหรับคนที่ไม่หวังดี บางคนอาจจะเอาการมูฯ มาเป็นเครื่องมือหากินเพื่อหลอกลวงคน แล้วการหลอกสมัยนี้หลอกเนียนมาก ถ้าเรามีความเชื่ออยู่แล้ว เราอยากได้ยินสิ่งนี้ อยากอย่างนี้ แล้วเราไปเจอคนที่ตอบโจทย์เราพอดี ความเสี่ยงก็จะเกิดขึ้นที่เราจะเป็นเหยื่อของการหลอกลวง เป็นเหยื่อของการสูญเสียเงินจำนวนมาก เมื่อไรก็ตามที่ความเชื่อมูฯ มันทำให้ครอบครัวเราแตกแยก ทำให้พฤติกรรมของเราผิดไปจากความเหมาะสม ผิดไปจากศีลธรรมจริยธรรมที่มันควรจะเป็น แบบนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่มันเกินไปทั้งสิ้น

 

อีกประเด็นหนึ่งคือถ้าเราให้น้ำหนักไปที่มูฯ เยอะเกินไป เราจะสูญเสียความรู้สึกว่าตัวฉันมีคุณค่าที่จะควบคุมชีวิตฉันได้ ความนับถือตนเองอาจจะค่อย ๆ ลดลง ๆ เราอาจจะกลายเป็นคนที่จะถูกจูงไปทางไหนก็ได้โดยง่าย อันนี้ก็จะถือว่ามากเกินไป แต่ส่วนตัวก็เชื่อว่าคนที่มูฯ อยู่ทุกวันนี้ส่วนใหญ่จะไม่ได้คาดหวังหรอกว่าเมื่อฉันมูฯ แล้วฉันต้องได้อย่างที่หวัง แต่เชื่อว่าที่มูฯ เพื่อเป็นการ empower ตัวเอง เพื่อให้รู้สึกมั่นใจและมีพลังมากขึ้นในการใช้ชีวิตมากกว่า แต่เมื่อไรก็ตามที่เราปล่อยให้มูฯ มาครอบงำเรา มาชี้นำพฤติกรรมเราทุกอย่าง เขาว่าอย่างไรทำหมดทุกอย่างเลย เสียเงินเสียนันเสียนี่ไป อันนี้เรียกว่าเกินไปแน่ ๆ

 

อ.ชาญ

เมื่ออะไรที่เป็นผลกระทบจนไม่สามารถใช้ชีวิตของตนเองได้อย่างปกติ หรือเริ่มส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างแล้ว แสดงว่าสิ่งที่เราเชื่อว่ามีผลดีมันน่าจะเป็นผลเสียแล้ว เพราะอย่างบางคนเชื่อว่าไปทำบุญเยอะๆ หรือซื้อไอเท่มอะไรบางอย่างมาบูชา เสียเงินเท่าไรก็ยอมเพื่อให้ชีวิตตัวเองดีขึ้น แต่กลับกลายเป็นว่าความทุกข์อันใหม่คือสภาพเศรษฐกิจ เพราะใช้เงินกับตรงนี้ไปมาก และเริ่มกระทบต่อคนอื่น บางคนหยุดไม่ได้ เพราะมั่นใจในตนเองลดลงมีความสามารถในการคิดประมวลผลภาพรวมลดลง บางคนหยุดไม่ได้จนกลายเป็นการเสพติด อะไรก็ตามที่เป็นการเสพติดมันก็ต้องการที่จะทำอยู่เรื่อย ๆ ตนเองไม่มีเงินก็ต้องไปยืมคนรอบข้างมา แสดงว่าจุดนี้เป็นสิ่งที่รบกวนการใช้ชีวิตทางสังคมหรือชีวิตส่วนตัวของเราเองแล้ว ถ้าเราดึงสติตัวเองกลับมาได้เร็ว และคิดว่าสุดท้ายแล้วสิ่งที่เราทำอยู่นั้นแก้ปัญหาที่แท้จริงได้หรือไม่ ก็น่าที่จะทำให้คนปรับตัวและทำได้ดีขึ้น

 

ส่วนประเด็นที่ว่า “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” มันก็เป็นวลีหนึ่งที่เหมือนกับ “โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม” เพราะบางอย่างมันจะไม่ถูกพิสูจน์หรือยังไม่มีวิธีพิสูจน์ที่แน่นอน คนเราต้องการ play safe อยู่แล้ว จึงมีกลไกออกมาว่า “ไม่เชื่อใช่ไหม ก็อย่าไปลบหลู่ เพราะถ้าเกิดผลเสียขึ้นมาจะทำยังไง” คนเราต้องการจะหลีกเลี่ยงถึงผลเสียหรือผลลัพธ์ที่ไม่ดี แต่จริง ๆ ความเชื่อบางอย่างตั้งแต่โบราณกาล ในหลาย ๆ ประเทศ มันก็แฝงความเป็นวิทยาศาสตร์อยู่ เช่น ที่บอกว่าห้ามตัดเล็บตอนกลางคืน เพราะว่าอะไร เมื่อก่อนแสงน้อย ถ้าตัดเล็บตอนกลางคืนก็กลัวจะเข้าเนื้อ ก็เป็นกลวิธีอย่างหนึ่ง หรือที่บอกว่า ตอนกินข้าวอย่าร้องเพลง เพราะเขาไม่อยากให้สำลัก แต่การให้อธิบายในแง่มุมของวิทยาศาสตร์ บางครั้งมันยากที่จะให้เด็ก ๆ เข้าใจและทำตาม เขาก็จะเบี่ยงประเด็นไปในจุดอื่นเลย ที่จะสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่า แล้วมันจบไม่ต้องอธิบายเยอะ

 

อ.นรุตม์

คนเราไปมูฯ เพื่อใจ เพื่อกำลังใจ ความมั่นใจ ดังนั้นพอใจเราได้แล้ว เราอาจต้องย้อนกลับมาใช้สมองให้มากขึ้น ใช้ปัญญาในการพิจารณาเหตุและผล ว่าต้นตอของปัญหา หรือว่าการที่เราจะได้ตามเป้าที่เราอยากจะได้ มันต้องใช้วิธีการอะไร เพราะถ้าเกิดเราใช้แต่ทางสายมูฯ มันอาจจะเกิดผลเสียตามมาอย่างที่อ.ชาญได้บอกไป ทั้งกับเรื่องทางสังคมรอบ ๆ ตัวเรา และการใช้ชีวิต เศรษฐกิจ ต่าง ๆ อีกอย่างหนึ่งก็สามารถส่งผลกระทบต่อตัวตนของเราเองด้วยซ้ำ หมอดูอาจจะแนะนำให้เราไปเป็นหรือไปทำพฤติกรรมอะไรที่มันไม่ใช่ตัวเรา ซึ่งถ้าเราต้องไปทำอะไรที่มันไม่ใช่ตัวของเราจริง ๆ มันก็จะเป็นปัญหาทางด้านจิตใจเหมือนกันกับการที่เราต้องพยายามเป็นอะไรในสิ่งที่เราไม่ได้เป็น

 

กำลังใจเราสร้างจากการมูฯ ได้ แต่ถ้าเรามีใจที่โอเคแล้วระดับหนึ่ง ย้อนกลับมาใช้เหตุผล พิจารณาดูว่าเราจะจัดการกับปัญหา กับความไม่มั่นใจ ความรู้สึกไม่มั่นคงตรงนั้นอย่างไร

 

 

Workshop : เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง ประจำปี 2566

 

โครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง” ประจำปี 2566

 

 

 

 

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง” ประจำปี 2566 ในวันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 – 16.00 น.ห้อง 614 ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์ ประธานแขนงวิชาจิตวิทยาสังคมพื้นฐานและประยุกต์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร

 

การเจรจาต่อรอง เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาระหว่างครอบครัว การเจรจาทางธุรกิจ เป็นต้น ผลประโยชน์ที่เราจะได้รับจาก “การเจรจาต่อรอง” ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากและมักจะเกิดขึ้นเป็นอันดับแรก ๆ เมื่อเราจะต้องประสานงานการทำงานกับผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นการเจรจาต่อรองกับผู้ที่เราจะต้องดำเนินธุรกิจด้วยหรือแม้แต่การเจรจาต่อรองที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในมิติอื่นๆ ได้ เพียงแต่ว่าเรื่องนั้นควรต่อรองหรือไม่ คุ้มหรือไม่กับการต้องต่อรอง หากต้องนิยามคำว่าเจรจาต่อรอง ก็สามารถให้ความหมายแบบกว้างๆ คือ กระบวนการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) มีบุคคลร่วมเจรจา 2 ฝ่ายขึ้นไป ถือเป็นกิจกรรมที่มีความทางการ มีการกำหนดจุดยืน มีผลประโยชน์ที่ต้องการแลกเปลี่ยนกัน และมุ่งหวังให้ผลประโยชน์หรือข้อกำหนดนั้นบรรลุความต้องการของทุกฝ่าย

 

โครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง” จึงเป็นโครงการสำหรับผู้ที่ต้องเข้าใจในพื้นฐานของการเจรจาต่อรอง โดยมุ่งเน้นการศึกษาไปยังเทคนิคพื้นฐานในกระบวนการของการต่อรอง ว่าการออกไปพบปะผู้คนนั้น ควรวางแผนและเตรียมตัวล่วงหน้าในการเจรจาอย่างไร จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับสิ่งต่างๆ รวมถึงการคาดหวังว่าผู้ที่ผ่านการอบรมไปนั้น จะสามารถนำเทคนิคดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถรับมือและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นและพร้อมที่จะยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้

 

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมโครงการจากคณะจิตวิทยา

 

 

วิธีการฝึกอบรม
  • ภาคทฤษฎี – โดยการบรรยาย ระยะเวลา 3 ชั่วโมง เวลา 9.00 – 12.00 น.
  • ภาคปฏิบัติ – โดยการฝึกปฏิบัติ ระยะเวลา 3 ชั่วโมง เวลา 13.00 – 16.00 น.

 

 

การอบรมมีอัตราค่าลงทะเบียน ท่านละ 3,500 บาท

 

 

 

เงื่อนไขการลงทะเบียน
  1. กรุณาชำระค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานก่อนกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
  2. การส่งแบบฟอร์มลงทะเบียน จะต้องแนบหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย จึงจะถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์
  3. เมื่อผู้จัดงานได้ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียนให้ทราบภายใน 3 วันทำการ
  4. บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว สามารถเข้าร่วมการอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
  5. ใบเสร็จรับเงินจะจัดส่งให้ทางไปรษณีย์
  6. เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ทุกกรณี

 

 

 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาทินี โทร. 02-218-1307 E-mail: wathinee.s@chula.ac.th

 

จิตวิทยาเชิงปริมาณคืออะไร?

 

จิตวิทยาเชิงปริมาณ (Quantitative Psychology) เป็นสาขาหนึ่งของศาสตร์จิตวิทยาที่เน้นการพัฒนาและประยุกต์ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ (เชิงตัวเลข) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตใจของมนุษย์ และเนื่องจากงานวิจัยทางจิตวิทยาในปัจจุบันมักมาจากการวิจัยเชิงปริมาณ สาขานี้จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์ความรู้ทางจิตวิทยาในสาขาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychology) จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (Industrial and Organizational Psychology) หรือสาขาอื่น ๆ ที่ใช้วิธีการเชิงปริมาณ

 

นิยาม


 

“จิตวิทยาเชิงปริมาณ” เป็นการศึกษาวิธีการในการออกแบบการวิจัย การวัดคุณลักษณะของบุคคล และการวิเคราะห์ข้อมูลทางจิตวิทยา นอกจากนี้ยังรวมถึงการสร้างโมเดลทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อศึกษากระบวนการทางจิตวิทยา (American Psychological Association [APA], 2009)

 

จากนิยามข้างต้น จิตวิทยาเชิงปริมาณสามารถแบ่งได้เป็น 4 ด้านหลัก ๆ ที่สัมพันธ์กัน โดยนักจิตวิทยาเชิงปริมาณคนหนึ่งอาจมีความเชี่ยวชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องในด้านดังต่อไปนี้

 

1. การออกแบบการวิจัย (Research Design)

 

การออกแบบการวิจัย คือ การกำหนดวิธีการวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของคำถามวิจัยที่ตั้งไว้ ยกตัวอย่างเช่น นักจิตวิทยาการปรึกษาต้องการศึกษาว่าการเข้ากลุ่มที่ใช้การเจริญสติช่วยลดความเศร้าได้หรือไม่ การตอบคำถามนี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น สุ่มคนส่วนหนึ่งเข้ากลุ่มที่ใช้การเจริญสติและอีกส่วนหนึ่งเข้ากลุ่มที่ไม่ใช้การเจริญสติ จากนั้นเปรียบเทียบระดับความเศร้าของคนในสองกลุ่มนี้หลังจากการเข้ากลุ่ม

 

ในด้านการออกแบบการวิจัย นักจิตวิทยาเชิงปริมาณมีหน้าที่พัฒนาวิธีการวิจัยให้นักจิตวิทยาสามารถตอบคำถามวิจัยได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ นักจิตวิทยาเชิงปริมาณมักร่วมมือกับนักจิตวิทยาในสาขาอื่น ๆ ในการกำหนดรูปแบบการวิจัยารสุ่มตัวอย่าง การเลือกเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

 

2. การวัด (Measurement)

 

 เมื่อนักจิตวิทยารู้ว่าจะตอบคำถามวิจัยด้วยวิธีใดแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการวัด เช่น นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การต้องการวัดบุคลิกภาพของพนักงานเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล แต่ปัญหาที่มักพบคือ จะใช้การวัดแบบใด และการวัดที่ใช้จะสามารถบอกบุคลิกภาพของพนักงานได้จริงหรือไม่

 

ตัวอย่างบทบาทของนักจิตวิทยาเชิงปริมาณในด้านนี้ ได้แก่ การพัฒนาทฤษฎีการวัดและวิธีการวัดที่ทำให้สามารถวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัดได้อย่างแม่นยำ นักจิตวิทยาเชิงปริมาณยังทำงานร่วมกับนักจิตวิทยาสาขาอื่น ๆ ในการสร้างมาตรวัดและตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัด

 

3. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)

 

การวิเคราะห์ข้อมูล คือ การนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาทำการวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบของถามวิจัย ตัวอย่างเช่น นักจิตวิทยาการศึกษาต้องการทราบว่าแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนลดลงหรือไม่หลังจากเปิดเทอม โดยเก็บข้อมูลจากนักเรียนกลุ่มเดียวซ้ำ ๆ ในช่วงเวลาต่าง ๆ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากการวัดซ้ำในลักษณะนี้มีหลายวิธีซึ่งแต่ละวิธีมีความเหมาะสมในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน บางวิธีเหมาะสมกับข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก แต่มีการวัดซ้ำหลายครั้ง ในขณะที่บางวิธีเหมาะสมกับข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ แต่มีจำนวนการวัดซ้ำน้อย

 

งานของนักจิตวิทยาเชิงปริมาณในด้านนี้ ได้แก่ การค้นหาวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในการวิจัยทางจิตวิทยา การเปรียบเทียบวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบต่าง ๆ การปรับแก้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น และการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลขึ้นมาใหม่ เป็นต้น

 

4. โมเดลทางคณิตศาสตร์และสถิติ (Mathematical and Statistical Modeling)

 

นอกเหนือจากการพัฒนาและตรวจสอบวิธีการวิจัยรวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูล นักจิตวิทยาเชิงปริมาณยังใช้ความเชี่ยวชาญทางคณิตศาสตร์และสถิติในการสร้างโมเดลเพื่อทำความเข้าใจมนุษย์ โดยนักจิตวิทยาเชิงปริมาณจะนำเสนอปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางจิตวิทยาในรูปของสมการทางคณิตศาสตร์ เช่น การทำงานของสมอง กระบวนการคิดและการตัดสินใจ และการสร้างเครือข่ายทางสังคม อีกสิ่งหนึ่งที่นักจิตวิทยาเชิงปริมาณทำในด้านนี้คือการนำโมเดลทางคณิตศาสตร์ที่มีอยู่แล้วจากสาขาวิชาอื่นมาประยุกต์ใช้กับจิตวิทยา

 

สรุป


 

จิตวิทยาเชิงปริมาณมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อศาสตร์จิตวิทยา นักจิตวิทยาเชิงปริมาณมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาและตรวจสอบการออกแบบการวิจัย การวัด การวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งการสร้างโมเดลทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อทำความเข้าใจมนุษย์ ด้วยความรู้เหล่านี้ นักจิตวิทยาเชิงปริมาณจึงมีบทบาทอย่างมากต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางจิตวิทยา

 

 

รายการอ้างอิง

 

American Psychological Association. (2009). Task force for increasing the number of quantitative psychologists. https://www.apa.org/science/leadership/bsa/quantitative

 

 

 


 

 

บทความโดย

 

อาจารย์ ดร.ศุภณัฐ ศรีอุทัยสุข

อาจารย์ประจำแขนงจิตวิทยาเชิงปริมาณ

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

Circadian rhythm – วงจรเซอร์คาเดียน

 

 

โดยทั่วไปร่างกายมนุษย์จะมีวงจรประจำวันตามธรรมชาติ เปรียบเสมือนตารางเวลาสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ โดยวงจรดังกล่าวมีกำหนดที่ค่อนข้างตายตัว วงจรนี้เรียกว่า วงจรเซอร์คาเดียน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอิทธิพลจากหลาย ๆ ปัจจัยในธรรมชาติ เช่น แสงสว่าง ความมืด อาหารที่รับประทาน ระดับความดังของเสียง ระดับสารเคมีต่าง ๆ ร่างกาย และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

 

Czeisler และคณะ (1999) ศึกษาพบว่า มนุษย์ที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีร่างกายสมบูรณ์ปกติจะมีระยะวงจรเซอร์คาเดียนอยู่ที่ประมาณ 24 ชั่วโมง 11 นาที (+/- 6นาที) ซึ่งวงจรดังกลล่าวจะตั้งค่าตัวเองใหม่ในทุก ๆ วันตามวงจรการหมุนของโลก

 

ใน 24 ชั่วโมง กระบวนการทางกายภาพของร่างกายจะทำงานตามเวลาที่เหมาะสมของรูปแบบวงจรเซอร์คาเดียนในแต่ละบุคคล เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และอุณหภูมิในร่างกายจะอยู่ในระดับสูงเพื่อที่จะทำให้ร่างกายตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา และในเวลากลางคืนกระบวนการทั้งหลายจะปรับลดระดับลงเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน เตรียมที่จะฟื้นตัวสำหรับเวลากลางวันของวันต่อไป

 

หากร่างกายและวงจรเซอร์คาเดียนทำงานในเวลาไม่สอดคล้องกัน สามารถส่งผลให้ร่างกายและจิตใจเกิดความผิดปกติ และอาจนำไปสู่สาเหตุของอาการป่วยต่าง ๆ เช่น ภาวะนอนหลับไม่เพียงพอ การนอนไม่หลับ หรือก่อให้เกิดความเครียดได้อีกด้วย

 

Alberni (2006) กล่าวว่ามนุษย์แต่ละคนมีระยะความยาวของวงจรเซอร์เดียนไม่เท่ากัน ซึ่งสามารถวัดรอบวงจรได้โดยการวัดในห้องระบบปิดที่ไม่มีสัญญาณจากภายนอกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบเวลาภายในร่างกาย หรือที่เรียกว่า ไซจ์เบอร์ (Zeitgeber) จากนั้นให้สังเกตเวลาเข้านอน ตื่นนอน ที่ร่างกายเลือกเอง ก็จะทราบผลลัพธ์วงจรเซอร์คาเดียนของคนนั้น ๆ โดยในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไซจ์เบอร์จะช่วยในการปรับและตั้งค่าวงจรเซอร์คาเดียนให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอ

 

 

ประเภทของวงจรเซอร์คาเดียน


 

วงจรเซอร์คาเดียนสามารถควบคุมได้ด้วยแสงและอุณหภูมิ ทั้งนี้การควบคุมดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้โดยการรับการกระตุ้นจากแสงแดดผ่านทางเรตินาของตาไปยังสมองส่วน Suprachiasmatic Nucleus (SCN) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองอยู่ในไฮโปทาลามัส ทำหน้าที่เป็นระบบไวต่อแสง หรือไวต่อเวลากลางวันกลางคืน ภายใต้การควบคุมของยีนนาฬิกา (Clock genes) ที่กำหนดตารางเวลากิจกรรมของมนุษย์ให้มีความรู้สึกต่างๆ เช่น ความอยากอาหาร ความต้องการพักผ่อน ซึ่งยีนนาฬิกาทำให้วงจรเซอร์คาเดียนของมนุษย์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทเวลา (Chronotype)

 

1. วงจรเซอร์คาเดียนประเภทเวลาเช้า

ผู้มีวงจรเซอร์คาเดียนประเภทเวลาเช้า คือ บุคคลที่ตื่นตัวและรู้สึกสดชื่นในเวลาเช้ามากกว่าในช่วงบ่ายหรือเวลาดึก ตัดสินได้จากการตื่นและเข้านอน หากมีการตื่นนอนเร็วกว่าเวลาตื่นนอนเฉลี่ยของประชากรทั้งหมด และเข้านอนอยู่ในระหว่างช่วงเวลา 20.00 น. ถึง 22.00 น. แสดงว่าบุคคลนั้นมีวงจรเซอร์คาเดียนประเภทนี้

 

2. วงจรเซอร์คาเดียนประเภทเวลาบ่าย

ผู้มีวงจรเซอร์คาเดียนประเภทเวลาบ่าย คือ บุคคลที่ตื่นตัวและรู้สึกสดชื่นในเวลาบ่ายหรือดึกมากกว่าในช่วงเช้า ตัดสินได้จากการตื่นและเข้านอนเช่นกัน หากมีการตื่นนอนช้ากว่าเวลาตื่นนอนเฉลี่ยของประชากรทั้งหมด และเข้านอนอยู่ในระหว่างช่วงเวลา 00.00 น. ถึง 02.00 น. แสดงว่าบุคคลนั้นมีวงจรเซอร์คาเดียนประเภทนี้

 

3. วงจรเซอร์คาเดียนประเภทเวลากึ่งกลาง

ผู้มีวงจรเซอร์คาเดียนประเภทเวลาแบบกึ่งกลางนี้เป็นบุคคลที่ไม่จัดอยู่ในบุคคล 2 ประเภทแรก ซึ่งบุคคลประเภทนี้มีจำนวนประมาณ 60-80 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด

 

 

ประเภทของวงจรเซอร์คาเดียนนั้น นอกจากมีประโยชน์ทางด้านสุขภาพแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อการจัดบุคคลให้เหมาะกับการทำงานอีกด้วย มีการศึกษาพบว่าหากจับคู่บุคคลและลักษณะกะการทำงานได้เหมาะสม ก็จะทำให้บุคคลนั้นมีความอดทนต่อการทำงานเป็นกะได้มากขึ้น และมีสุขภาพจิตดีขึ้นอีกด้วย

 

 


 

 

ข้อมูลจาก

 

“อิทธิพลของวงจรเซอร์คาเดียนและเวลาการทำงานที่มีต่อสุขภาพจิตของพนักงานรักษาความปลอดภัย” โดย พิมพ์นฏา เวียงนนท์, ภัสสร สิทธินววิธ และ ลินดา คูเวน (2555) – http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44192

 

Triangular theory of love – ทฤษฎีสามเหลี่ยมของความรัก

 

 

 

Sternberg (1986) เสนออทฤษฎีสามเหลี่ยมของความรัก ซึ่งอธิบายถึงธรรมชาติและรูปแบบของความรักว่าประกอบด้วย 3 องค์ประกอบสำคัญ คือ

 

  1. ความใกล้ชิด (intimacy) เป็นองค์ประกอบด้านอารมณ์ คือ มีความคุ้นเคยใกล้ชิดกันในความรู้สึก ความเข้าใจกันอย่างลึกซึ้ง ความเอื้ออาทรต่อกัน สื่อสารกันได้อย่างดี มีความไว้วางใจต่อกัน ซึ่งจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของความสัมพันธ์
  2. ความเสน่หา (passion) เป็นองค์ประกอบด้านแรงจูงใจ เกิดจากแรงขับภายในระบบของร่างกาย หรือความรู้สึกที่ถูกกระตุ้นทางสรีระ เป็นความดึงดูดทางเพศ เช่น ความพอใจในรูป กลิ่น เสียง หรือจริตกิริยาของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือเสน่ห์อื่นๆ และยังรวมถึงเหตุกระตุ้นอื่นๆ ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกโรแมนติกด้วย
  3. ความผูกมัด (commitment) เป็นองค์ประกอบด้านความคิด คือการตัดสินใจที่จะรักหรือมีพันธะทางใจหรือทางสังคมต่อกัน การใช้เวลาร่วมกันในกิจกรรมต่างๆ หรือการใช้ชีวิตร่วมกันต่อเนื่องเป็นเวลานาน ความรับผิดชอบในพันธะที่ตกลงต่อกัน การรับพันธะผุกพันจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเมื่อมีความสนิทสนมกันมากขึ้น และเปลี่ยนไปตามระดับของความสุดความพอใจในแต่ละช่วงเวลา หากมีปัญหายุ่งยากในความสัมพันธ์ระหว่างกัน การรับพันธะผูกพันอาจลดระดับลงไป

 

องค์ประกอบด้านความใกล้ชิดเป็นแกนหลักที่สามารถพบได้ในความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ มีความคงทนค่อนข้างสูง และมีบทบาทสำคัญในความสัมพันธ์ระยะยาว ส่วนความเสน่หามักพบในความสัมพันธ์เชิงคู่รักเท่านั้น เด่นชัดในความทรงจำ และมีบทบาทสำคัญในความสัมพันธ์ระยะสั้น มีผลต่อปฏิกิริยาทางร่างกายและการรับรู้ความเจ็บปวด ขณะที่ความผูกมัดนั้นมีความผันแปรในแต่ละช่วงอายุ เช่น มีความผูกมัดกับครอบครัวในวัยเด็ก ผูกมัดกับเพื่อนในช่วงวัยรุ่น และผูกมัดกับคนรักในวัยผู้ใหญ่ มีผลต่อการรับรู้ความเจ็บปวดและความสามารถในการควบคุมตนเอง

 

 

การจัดประเภทของความรัก


 

จากองค์ประกอบของความรักทั้งสาม สามารถจำแนกความรักออกได้เป็นประเภทต่างๆ 8 ประเภท ดังนี้

 

  1. การไม่มีความรัก (nonlove) เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่ไม่มีองค์ประกอบทั้งสามเลย เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแบบง่ายๆ ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่มีความรู้สึกหรือรักมาเกี่ยวข้อง
  2. ความชอบ (liking) เป็นรักที่ประกอบด้วยความใกล้ชิดเท่านั้น เกิดขึ้นกับคนที่เราสนิทสนมใกล้ชิดด้วย เช่น เพื่อน คนรู้จัก
  3. รักแบบหลงใหล (infatuated love) เป็นรักที่ประกอบด้วยความเสน่หาอย่างเดียว เกิดขึ้นได้บ่อย ทำนองรักแรกพบ
  4. ความสัมพันธ์แบบปราศจากความรัก (empty love) เป็นรักที่ประกอบด้วยความผูกมัดอย่างเดียว เช่น มีการแต่งงานที่ปราศจากความรู้สึกต่อกัน เพียงแค่อยู่ร่วมกัน (ซึ่งอาจพัฒนาองค์ประกอบอื่นภายหลัง)
  5. รักแบบโรแมนติก (romantic love) เป็นรักที่ประกอบด้วยความใกล้ชิด และความเสน่หา เกิดเมื่อบุคคลรู้จักกัน ใกล้ชิดกัน จึงเกิดความรู้สึกตื่นตัวทางร่างกาย ปรารถนาจะอยู่ใกล้ชิก ได้สัมผัสและถ่ายทอดความรู้สึกระหว่างกันโดยยังไม่มีพันธะผูกมัด
  6. รักแบบมิตรภาพ (companionate love) เป็นรักที่ประกอบด้วยความใกล้ชิดและความผูกมัด มักเกิดในความสัมพันธ์ระยะยาว เช่น เพื่อน หรือคู่แต่งงานที่ใช้ชีวิตร่วมกันมานาน
  7. รักแบบไร้สติปัญญา (fatuous) เป็นรักที่ประกอบด้วยความเสน่หาและความผูกมัด โดยบุคคลพบรักและผูกมัดกันอย่างรวดเร็ว ซึ่งรักแบบนี้มักจบลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน
  8. รักสมบูรณ์แบบ (consummate love) เป็นรักที่มีทั้งสามองค์ประกอบ ทั้งความเสน่หา ความใกล้ชิด และความผูกมัด รักรูปแบบนี้เป็นรักที่บุคคลปรารถนาแต่ยากที่จะเกิดขึ้นและรักษาให้คงสภาพไว้ได้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบความสัมพันธ์และสถานการณ์ที่แวดล้อมในความสัมพันธ์ระหว่างสองบุคคล

 


 

 

ข้อมูลจาก

 

“ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ต่อความพึงพอใจในความสัมพันธ์ของคู่รัก โดยมีองค์ประกอบของความรักทั้งสามเป็นตัวแปรส่งผ่าน” โดย สิริภรณ์ ระวังงาน (2553) – http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37529

 

 

โครงการอบรมความรู้พื้นฐานจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ประจำปี 2566

 

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วม “โครงการอบรมความรู้พื้นฐานจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ประจำปี 2566” ซึ่งจะจัดอบรมผ่านโปรแกรม ZOOM ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน – 24 กรกฎาคม 2566 (วันจันทร์ และวันอังคาร เวลา 18.00 – 21.00 น.) รวมใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรมและสอบวัดผลทั้งสิ้น 27 ชั่วโมง โดย คณาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร

 

 

 

โครงการอบรมมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านจิตวิทยาให้แก่บุคคลภายนอก และเตรียมความพร้อมทางจิตวิทยาให้แก่ผู้สมัครที่จะเข้ามาศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาอุตสาหกรรมและองค์การ ได้มีพื้นฐานทางจิตวิทยาที่จำเป็น เพื่อเตรียมความพร้อมและนำไปต่อยอดในการศึกษารายวิชาที่กำหนดในหลักสูตรในระดับที่สูงขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เนื้อหาการอบรมจะเป็นการปูพื้นฐานให้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาศาสตร์ทางด้านจิตวิทยาในบริบทการทำงานและบุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ ได้เรียนรู้และเข้าใจกับคําว่าจิตวิทยา I/O และสร้างความเข้าใจในประเด็นด้านอุตสาหกรรม เช่น กระบวกการคัดเลือก วัดและประเมิน และประเด็นด้านองค์การ เช่น ความพึงพอใจและผลการปฏิบัติงานของบุคลากร แรงจูงใจในการทำงาน เป็นต้น รวมทั้งประเด็นด้านการเรียนรู้และสุขภาวะทางจิตใจของบุคลากรในที่ทำงาน รวมถึงการคาดหวังว่าผู้ที่ผ่านการอบรมไปนั้น จะสามารถนําศาสตร์ทางจิตวิทยาไปประยุกต์พัฒนาบุคลากรและแก้ปัญหาในที่ทำงานเพื่อให้องค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

 

 

 

หลังจากเสร็จสิ้นการอบรมแต่ละครั้ง ทางผู้จัดโครงการจะอัพโหลดไฟล์วิดีโอการอบรมให้ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถเข้ามาดูย้อนหลังได้จนถึงวันที่ 7 สิงหาคม 2566

 

ผู้ที่สอบผ่านเกณฑ์การวัดผลของโครงการจะได้รับวุฒิบัตรเพื่อใช้ประกอบการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาแขนงวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะจิตวิทยา ได้

 

 

เกณฑ์การวัดผล

  • ต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 7 ครั้ง (21 ชั่วโมง)
  • สอบวัดผลข้อเขียน โดยผ่านเกณฑ์การประเมิน 70% ขึ้นไป

 

อัตราค่าลงทะเบียน

 

 

บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว

มีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ

 

 

 

เงื่อนไขการลงทะเบียน

 

  1. กรุณาชำระค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานก่อนกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
  2. การส่งแบบฟอร์มลงทะเบียน จะต้องแนบหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย จึงจะถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์
  3. เมื่อผู้จัดงานได้ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียนให้ทราบภายใน 3 วัน
  4. บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว สามารถเข้าร่วมการอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
  5. ใบเสร็จรับเงินจะจัดส่งให้ทางไปรษณีย์
  6. เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ทุกกรณี

 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาทินี สนลอย

โทร. 02-218-1307 หรือ email: Wathinee.s@chula.ac.th

After 85 years, why are we still using ECT for depression?

 

Clinical Cognitive Neuroscience research seminars… over Zoom

Open to all
Wednesday 3rd May 2023, 20:00-21:00

 

After 85 years, why are we still using ECT for depression?

 

by

Professor Declan McLoughlin
Departtment of Psychiatry & Trinity College Institute of Neuroscience, Trinity College Dublin, St Patrick’s University Hospital, Dublin, Ireland

 

 

Please register at:

มาทำงานบ้านกันเถอะ! : สรุปประโยชน์ 5 ข้อ เมื่อให้เด็ก ๆ ช่วยงานบ้าน และแนวทางเบื้องต้น

 

ด้วยความรักและความหวังดีของพ่อแม่ เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนพยายามเสาะแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นของเล่นเสริมพัฒนาการ อาหารการกินดี ๆ ที่ถูกสุขอนามัย ไปจนถึงคลาสเรียนเสริมความรู้ทางวิชาการ และทักษะอื่น ๆ เพื่อปูทางให้ลูก ๆ เติบโตอย่างแข็งแรง สมวัย มีความสุข และประสบความสำเร็จในชีวิต แต่มีอีกหนึ่งทักษะสำคัญของชีวิตที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนยังมองข้ามไป และไม่ได้เสริมสร้างทักษะให้ลูกตั้งแต่ยังเล็ก นั่นคือ การจัดการงานบ้าน นั่นเอง

 

การจัดการงานบ้าน หมายถึง กิจวัตรที่ต้องจัดการ เพื่อให้บ้านและสิ่งของเครื่องใช้มีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย พร้อมต่อการใช้งานอยู่เสมอ เช่น การล้างจาน ซักผ้ารีดผ้า ล้างห้องน้ำ ปัดกวาดเช็ดถู และอีกมากมายหลายอย่าง ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ยุ่งยากและน่าเบื่อหน่าย แต่เป็นทักษะสำคัญของชีวิตที่ควรให้เด็ก ๆ เรียนรู้ และฝึกฝน

 

บทความนี้ สรุป 5 ประโยชน์ของการฝึกลูก ๆ จัดการงานบ้านและแนวทางเบื้องต้น มาให้ค่ะ

 

 

ประโยชน์ 5 ข้อ ของการฝึกลูก ๆ จัดการงานบ้าน


 

1. ฝึกความรับผิดชอบ

 

เมื่อเด็ก ๆ ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานบ้านบางอย่าง เด็ก ๆ จะได้ฝึกรับผิดชอบหน้าที่ หรือรับผิดชอบสิ่งของที่เป็นของตัวเอง โดยคุณพ่อคุณแม่อาจมอบหมายให้เด็ก ๆ ได้จัดการจานอาหารของตัวเองหลังกินเสร็จ เช่น โกยเศษอาหารลงถังขยะ และนำจานไปไว้ในอ่าง หรือ เมื่อลูกทำน้ำหกบนพื้น คุณพ่อคุณแม่ควรชวนให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการเช็ดน้ำที่หกด้วยตัวเอง การทำแบบนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบการกระทำของตัวเองด้วย

 

 

 

2. พัฒนาทักษะการจัดการงานบ้าน และการพึ่งพาตนเอง

 

ผู้ใหญ่หลายคนเข้าใจดีว่าการจัดการงานบ้านซักผ้า รีดผ้า ทำกับข้าว ล้างจาน เก็บของ ล้างห้องน้ำ เช็ดห้องถูห้อง ทั้งหมดนี้ต้องอาศัยทักษะความชำนาญ และการจัดระบบระเบียบชีวิตที่ดี เพื่อให้สามารถดูแลจัดการทั้งงานในบ้าน และงานนอกบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะการจัดการเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่จะทำกันได้ในชั่วเวลาข้ามคืน หากแต่อาศัยการฝึกฝน และลองผิดลองถูกหลายครั้ง จนเกิดเป็นกิจวัตร และความเข้าที่เข้าทางมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

การฝึกให้เด็กได้ค่อย ๆ เรียนรู้ที่จะจัดการดูแลชีวิต และสิ่งของเครื่องใช้ของตัวเองให้เป็นระเบียบเรียบร้อย จะช่วยให้เด็ก ๆ พัฒนาทักษะที่จำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถจัดการดูแล รับผิดชอบกิจวัตรของตัวเองได้โดยไม่รู้สึกว่าชีวิตยุ่งเหยิงจนเกินเยียวยา คุณพ่อคุณแม่อาจทำตารางเวลาบอกสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวันติดไว้ในที่ ๆ เด็กสามารถเห็นได้ชัดเจน และให้เด็กทำสัญลักษณ์เมื่อช่วยกันทำงานนั้นได้เสร็จ เพื่อเป็นจุดที่บอกว่าทำได้แล้วนะ ทำเสร็จแล้วนะ เป็นต้น

 

ตารางเวลาในการทำงานบ้านนี้อาจไม่จำเป็นต้องทำทุกวัน อาจมีการปรับให้ตรงกับความสะดวกและเป็นไปได้ของแต่ละครอบครัว แต่ควรมีการจัดสรรเวลาที่ชัดเจน เช่น ทุกเช้าวันอาทิตย์ 8 ถึง 9 โมง เราจะมาจัดการงานบ้านกัน เป็นต้น การกำหนดกิจวัตรที่สม่ำเสมอจะช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ และเกิดพฤติกรรมใหม่ ๆ ได้ดีกว่าการไม่มีกิจวัตรที่ชัดเจน

 

3. ส่งเสริมพัฒนาการทางการรู้คิด และสติปัญญา

 

การศึกษาพบว่าเด็ก ๆ ที่ช่วยจัดการงานบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการดูแลรับผิดชอบในส่วนของตัวเอง เช่น จัดที่นอน หรือดูแลรับผิดชอบงานส่วนรวม เช่น ล้างจานหลังมื้ออาหาร มีแนวโน้มจะมีความจำปฏิบัติการ (working memory) และการยับยั้งพฤติกรรม (inhibitory control) ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานของความสามารถทางปัญญาในการจัดการพฤติกรรม หรือ Executive Function (EF) ที่ดีกว่า ทั้งนี้เพราะการจัดการงานบ้านอย่างหนึ่ง ให้สำเร็จลุล่วง ประกอบไปด้วยขั้นตอนย่อย ๆ หลายขั้นตอนที่ต้องมีการทำเป็นลำดับต่อเนื่องกัน อีกทั้งเด็ก ๆ ยังต้องยับยั้งความต้องการไปทำอย่างอื่น เพื่อจัดการงานบ้านให้เสร็จก่อนด้วย เรียกได้ว่าเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกทักษะ EF ที่ดีอีกกิจกรรมหนึ่ง

 

4. ส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อ และการทำงานประสานกันระหว่างมือกับตา

 

การทำงานบ้านถือเป็นกิจกรรมที่ต้องมีการขยับกล้ามเนื้อ และประสานการทำงานระหว่างกล้ามเนื้อมือกับตา ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าทักษะอะไรก็ตามเมื่อยิ่งได้ใช้ ได้ฝึกฝน ก็จะยิ่งแข็งแรงขึ้น และทำได้ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การพับผ้า ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อทั้งแขน มือ และนิ้ว เพื่อจับและควบคุมผ้าให้ทบกัน รวมถึงสายตาก็ต้องเล็งดูขอบผ้า เพื่อให้ชายผ้าทบตรงกัน ผู้ใหญ่อาจคิดว่าการพับผ้าเป็นงานที่ง่ายมาก ไม่มีความซับซ้อนอะไร แต่สำหรับเด็กวัยอนุบาลไปจนถึงวัยประถม การพับผ้าชนิดต่าง ๆ ก็ถือเป็นกิจกรรมที่ท้าทายต่อพัฒนาการ เหมาะสำหรับใช้ฝึกกล้ามเนื้อ และการทำงานประสานกันระหว่างมือกับตาได้ดีเหมือนกัน

 

 

5. เสริมสร้างคุณภาพชีวิต และสุขภาวะทางใจที่แข็งแรง

 

การสามารถจัดการงานบ้านได้สำเร็จลุล่วง และทำได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ก็คล้ายกับการประสบความสำเร็จในกิจกรรมอื่น ๆ ที่มักก่อให้เกิดการรับรู้ถึงความสามารถของตนเอง ว่าฉันก็ทำได้ เกิดเป็นจังหวะเล็ก ๆ ที่รู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง จากการศึกษาระยะยาวพบว่า การให้เด็กช่วยทำงานบ้านตั้งแต่เล็ก มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ถึงความสามารถของตนเอง มีความพึงพอใจในชีวิต และพฤติกรรมเอื้อสังคมที่สูงกว่า รวมถึงมีความสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ ที่ดีกว่าเมื่อโตขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นการที่เราสามารถจัดระเบียบชีวิต และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี ยังเป็นทักษะที่ช่วยส่งเสริมการเข้าสังคม และส่งเสริมบุคลิกภาพให้ดูดีอีกด้วย

 

 

 

เห็นได้ว่าการฝึกให้ลูกมีส่วนร่วมในการจัดการงานบ้านมีประโยชน์มากมายหลายด้านต่อพัฒนาการที่ดีของลูกตลอดช่วงชีวิต จึงเป็นกิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม แต่ควรจัดสรรเวลา และหาโอกาสเพื่อให้ลูกได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะในการจัดการงานบ้านตามระดับพัฒนาการของลูก โดยสามารถเริ่มให้ลูกช่วยทำได้ตั้งแต่ช่วงประมาณก่อน 2 ขวบ ซึ่งตามพัฒนาการของเด็กเล็กส่วนใหญ่นั้นจะมีความอยากช่วยหยิบช่วยทำอยู่แล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มจากงานง่าย ๆ อย่างเช่นการช่วยกันเก็บของเล่นเข้าตะกร้า การให้ลูกช่วยเอาผ้าใส่ตะกร้า ไปจนถึงการช่วยกันแยกสีของเสื้อผ้าเพื่อเตรียมซัก และสามารถปรับเปลี่ยน เพิ่มงาน เพิ่มระดับความซับซ้อนขึ้นตามพัฒนาการของลูก อย่างไรก็ตามถึงแม้จะให้ลูกช่วยทำงานบ้านเพื่อฝึกพัฒนาการ คุณพ่อคุณแม่ก็ยังไม่ควรมุ่งหวังไปที่ความสมบูรณ์แบบจากสิ่งที่ลูกกำลังหัดทำ แต่สิ่งที่ควรตั้งเป้าหมายคือการที่ลูกสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ผ่านการฝึกทำซ้ำ จนเคยชินเป็นลักษณะนิสัย และทักษะที่ดีติดตัวลูกไปตลอดชีวิต

 

 

 

 

 

รายการอ้างอิง

 

Rende, R. (2015). The developmental significance of chores: Then and now. The Brown University Child and Adolescent Behavior Letter, 31(1), 1-7. https://doi.org/10.1002/cbl.30009

 

Rende, R. (2021). Chores: Why they still matter and how to engage youth. The Brown University Child and Adolescent Behavior Letter, 37(6), 1-4. https://doi.org/10.1002/cbl.30545

 

Tepper, D. L., Howell, T. J., & Bennett, P. C. (2022). Executive functions and household chores: Does engagement in chores predict children’s cognition? Australian Occupational Therapy Journal, 69(5), 585– 598. https://doi.org/10.1111/1440-1630.12822

 

White, E. M., DeBoer, M. D., & Scharf, R. J. (2019). Associations between household chores and childhood self-competency. Journal of Developmental & Behavioral Pediatrics, 40(3), 176-182. https://doi.org/10.1097/DBP.0000000000000637

 

ภาพจาก Canva

 

 


 

 

บทความโดย
อาจารย์พิมพ์จุฑา นิมมาภิรัตน์
อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย