ข่าวและกิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการจิตบำบัดแบบมุ่งเน้นอารมณ์สำหรับคู่รัก

 

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการจิตบำบัดแบบมุ่งเน้นอารมณ์สำหรับคู่รัก โดยคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อ

Learning Emotionally Focused Couple Therapy (EFT): An Introduction to Comprehensive Theory, Basic Skills, and a Step-by-Step Process

 

การอบรมนี้มุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจแนวคิดพื้นฐาน ทักษะที่สำคัญและกระบวนการตามแนวคิด Emotionally Focused Couple Therapy (EFT) เหมาะสำหรับนักจิตวิทยา หรือผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิต จัดโดย ศูนย์สุขภาวะทางจิต (Center for Psychological Wellness) คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

รุ่นที่ 1

วันที่ 8-10 มีนาคม 2568 เวลา 9.30 – 16.30 น.

ณ ห้อง 614 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

——– รุ่นทีี่ 1 อบรมเสร็จสิ้นแล้ว ———

 

รุ่นที่ 2

วันที่ 22-24 มีนาคม 2568

ณ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ

– วันที่ 22 มี.ค. 2568 ห้อง 809 ชั้น 8

– วันที่ 23-24 มี.ค. 2568 ห้อง 614 ชั้น 6

——– รุ่นทีี่ 1 อบรมเสร็จสิ้นแล้ว ———

 

รุ่นที่ 3

วันที่ 23-25 พฤษภาคม 2568
ณ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ
ห้องอเนกประสงค์ ขั้น 4 คณะจิตวิทยา
– ปิดรับลงทะเบียนวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 หรือเมื่อมีผู้ลงทะเบียนครบตามจำนวน)


ลงทะเบียนทาง https://forms.gle/E9W825Tm5QP7mNjM8

 

วิทยากร

 

รับจำนวนจำกัด รุ่นละ 30 ท่าน เท่านั้น

 

อัตราค่าลงทะเบียน
  • 8,500 บาท (อัตราค่าลงทะเบียนนี้ รวมอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารการอบรมและประกาศนียบัตรสำหรับผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 80% ของเนื้อหา)

 

*การยกเลิกการลงทะเบียน ขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนค่าลงทะเบียนทุกกรณี*

 

 

 

 

ศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เบอร์โทรศัพท์โครงการ : 093-354-2650
อีเมล : psychulaworkshop@gmail.com

คณะจิตวิทยาเข้าพบท่านอธิการบดี เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ 2568

 

เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ได้เข้าพบท่านอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร เพื่อขอพรปีใหม่เนื่องในโอกาสขึ้นปีพุทธศักราช 2568 โดยท่านอธิการได้ให้คำอวยพรที่เป็นสิริมงคลต่อคณะจิตวิทยา

 

 

 

 

Workshop : เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง รุ่นที่ 4

โครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง รุ่นที่ 4”

 

 

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง รุ่นที่ 4” ประจำปี 2568 ในวันเสาร์ที่ 22 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้อง 614 ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์ อาจารย์พิเศษแขนงวิชาจิตวิทยาสังคม คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร

 

 

 

 

การเจรจาต่อรอง เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาระหว่างครอบครัว การเจรจาทางธุรกิจ เป็นต้น ผลประโยชน์ที่เราจะได้รับจาก “การเจรจาต่อรอง” ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากและมักจะเกิดขึ้นเป็นอันดับแรก ๆ เมื่อเราจะต้องประสานงานการทำงานกับผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นการเจรจาต่อรองกับผู้ที่เราจะต้องดำเนินธุรกิจด้วยหรือแม้แต่การเจรจาต่อรองที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในมิติอื่น ๆ ได้ เพียงแต่ว่าเรื่องนั้นควรต่อรองหรือไม่ คุ้มหรือไม่กับการต้องต่อรอง หากต้องนิยามคำว่าเจรจาต่อรอง ก็สามารถให้ความหมายแบบกว้าง ๆ คือ กระบวนการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) มีบุคคลร่วมเจรจา 2 ฝ่ายขึ้นไป ถือเป็นกิจกรรมที่มีความทางการ มีการกำหนดจุดยืน มีผลประโยชน์ที่ต้องการแลกเปลี่ยนกัน และมุ่งหวังให้ผลประโยชน์หรือข้อกำหนดนั้นบรรลุความต้องการของทุกฝ่าย

 

โครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง” จึงเป็นโครงการสำหรับผู้ที่ต้องเข้าใจในพื้นฐานของการเจรจาต่อรอง โดยมุ่งเน้นการศึกษาไปยังเทคนิคพื้นฐานในกระบวนการของการต่อรอง ว่าการออกไปพบปะผู้คนควรวางแผนและเตรียมตัวล่วงหน้าในการเจรจาอย่างไร จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับสิ่งต่าง ๆ รวมถึงการคาดหวังว่าผู้ที่ผ่านการอบรมจะสามารถนำเทคนิคดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถรับมือและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นและพร้อมที่จะยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้

 

 

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมโครงการจากคณะจิตวิทยา

 

 

วิธีการฝึกอบรม
  • ภาคทฤษฎี – โดยการบรรยาย ระยะเวลา 3 ชั่วโมง
  • ภาคปฏิบัติ – โดยการฝึกปฏิบัติ ระยะเวลา 3 ชั่วโมง

 

 

การอบรมมีอัตราค่าลงทะเบียน ท่านละ 4,500 บาท

(ราคานี้รวมอาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารประกอบการอบรมและวุฒิบัตร)

 

 

 

เงื่อนไขการลงทะเบียน
  1. กรุณาชำระค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานก่อนกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
  2. การส่งแบบฟอร์มลงทะเบียน จะต้องแนบหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย จึงจะถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์
  3. เมื่อผู้จัดงานได้ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียนให้ทราบภายใน 3 วันทำการ
  4. บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว สามารถเข้าร่วมการอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
  5. ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์จะจัดส่งให้ทางอีเมลที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้
  6. เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ทุกกรณี

 

 

 


โครงการนี้ปิดรับสมัครแล้่ว


 

 

 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาทินี โทร. 02-218-1307 E-mail: wathinee.s@chula.ac.th

 

 


 

 

การเดินทางมายังคณะจิตวิทยา

 

อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ
ขนส่งสาธารณะ
BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ทางออก 2 แล้วเดินตรงเข้ามาทางประตูสนามนิมิบุตร ประมาณ 300 เมตร
รถเมล์ ป้ายสนามกีฬาแห่งชาติ / มาบุญครอง / โอสถศาลา

 

ที่จอดรถ
อาคารจอดรถ 4 ติดกับอาคารจุฬาพัฒน์ 14

 

 

คณะจิตวิทยาร่วมสวัสดีปีใหม่แก่ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภามหาวิทยาลัย

 

วันที่ 13 มกราคม 2568 คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดี พร้อมด้วยบุคลากร ได้ร่วมสวัสดีปีใหม่แก่ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งรับโอวาทและคำอวยพร ณ ชั้น 20 อาคารจามจุรี 10

 

 

 

 

 

 

 

คณะจิตวิทยาร่วมออกบูทในงาน “CHULA LAND แดนเด็กเล่น” ณ สยามสแควร์

 

วันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2568 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ PMCU จัดกิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติใจกลางสยามสแควร์ งาน “CHULA LAND แดนเด็กเล่น” ตั้งแต่เวลา 09.00 น. – 21.00 น. ณ สยามสแควร์

 

ในงานนี้คณะจิตวิทยาร่วมออกบูท Mind Town บริเวณ Block K (ตรงข้าม Siam Square One) มีกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมงานได้เพลิดเพลินไปด้วยสาระและความสนุกสนานมากมาย จากศูนย์สุขภาวะทางจิต ศูนย์จิตวิทยาเพื่อประสิทธิภาพองค์กร และ ศูนย์จิตวิทยาพัฒนาการและความสัมพันธ์ระหว่างวัย อาทิ

  • ทดลองจิตวิทยาสุดเจ๋ง
  • กิจกรรมชวนเล่นจากนักจิตวิทยา: อะคริลิคส่องใจ ฟังนิทานรู้จักอารมณ์
  • My Emotion…My Shining Mind: สำรวจจิตใจผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์
  • เปิดโลกอาชีพที่น่าสนใจ

 

 

 

 

เครียดงานหลังปีใหม่: พอจัดการได้ ถ้าตั้งหลักดี ๆ

 

รู้สึกเหมือนกันไหมคะว่าเทศกาลปีใหม่ผ่านไปเร็วจนน่าใจหาย หลายคนบ่นว่าเหมือนตื่นมาจากฝัน ความรู้สึกผ่อนคลายกับเวลาสบาย ๆ หมดไปเร็วเหลือเกิน ถึงเวลานี้ หลายคนคงกลับมาใช้ชีวิตประจำวันหรือทำงานแบบเดิม ๆ และอาจมีเพิ่มเติมด้วยความรู้สึกกดดันกับงานกองใหญ่ ที่เคยผัดผ่อนไว้ช่วงก่อนเทศกาล ตอนนั้นอาจคิดไปว่าปีใหม่ เราคนใหม่ จะมีพลังจัดการได้ทุกอย่าง แต่พอกลับมาเจอกองงานอีกครั้ง หรือเห็นงานใหม่ที่หลั่งไหลเข้ามา ก็อาจพาให้เกิดความเครียดได้

 

แต่อย่างไร อย่าเพิ่งรู้สึกไม่ดีกับความเครียดนะคะ ถ้ารักษาไว้ในระดับพอดี ๆ ความเครียดก็มีประโยชน์ได้ค่ะ ความเครียดที่ไม่สูงเกินไป จะส่งผลให้เราเกิดแรงจูงใจ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ลงมือทำอะไรไม่นิ่งเนือย ในปีนี้ เราอาจได้ผลงานที่ดี มีประสิทธิภาพในการใช้เวลา หรือเห็นความรุดหน้าในงานถ้าจัดการความเครียดได้ลงตัวนะคะ

 

ในทางกลับกัน ถ้าความเครียดนั้นสูงเกินไป ก็จะส่งผลเสียทำให้เรารู้สึกหงุดหงิด เกร็ง ไม่สบายใจ บางคนทานไม่ได้นอนไม่หลับ ความเครียดสูงยังบั่นทอนสมาธิ การรับรู้ การตัดสินใจ และส่งผลให้หลาย ๆ คนมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป บางคนหลีกเลี่ยงหนีสถานการณ์ตึงเครียด ใช้เกม การกินหรือสุรายาเสพติดเป็นเครื่องปลอบใจ ถ้ามาถึงจุดนี้ เราคงต้องตั้งหลักหาวิธีจัดการความเครียดแล้วค่ะ

 

ความเครียดเป็นผลจากการประเมินสถานการณ์ว่าคุกคามความรู้สึกปลอดภัยหรือไม่ และเรามีตัวช่วยในการรับมือสถานการณ์นั้นมากน้อยเพียงใด ความเครียดเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ในสถานการณ์ดี ๆ เช่น ได้เลื่อนตำแหน่ง การแต่งงาน การให้กำเนิดสมาชิกใหม่ในครอบครัว เมื่อไรที่เรารับรู้ว่าตัวเองออกจากพื้นที่ปลอดภัย เราอาจเกิดความเครียดได้

 

เนื่องจากความเครียดมีที่มาหนึ่งจากการรับรู้ของเราเอง การตั้งหลักทบทวนว่าเรารับรู้หรือประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างไรจึงเป็นเรื่องสำคัญ เริ่มแรกเลย ลองทบทวนว่าสถานการณ์ตึงเครียดนั้นเกี่ยวข้องกับเรามากน้อยเพียงใด ถ้างานกองใหญ่ที่รออยู่หลังปีใหม่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบเกี่ยวข้องกับเราคนเดียว เราก็อาจจะต้องกระจายปริมาณความเครียดไปให้เหมาะสม

 

นอกจากนั้น ความเครียดเกิดการจากรับรู้ว่าเราถูกคุกคามไม่ปลอดภัย บางทีพอได้ยินคำว่า “งาน” เราก็พาลเครียดไม่ปลอดภัยไปแล้ว แต่ถ้าตั้งหลักมองดี ๆ งานที่ต้องดูแลก็อาจเป็นโอกาสให้เราได้แสดงฝีไม้ลายมือหรือเรียนรู้พัฒนาตัวเองก็ยังได้ และอาจจะไม่ใช่ภัยคุกคามเสมอไป

 

ลองทบทวนดูความคาดหวังของเราสักนิดนะคะว่าจะกดดันตัวเราไปหรือไม่ เช่น ถ้าเรามองแบบดำขาวว่างานกองใหญ่ที่รออยู่ต้องเสร็จไปในทันทีที่ปีใหม่มาถึง แบบนี้ก็คงเครียดไม่น้อย จะผ่อนคลายกว่าแน่ ถ้าเราค่อยๆ ประเมินแล้วตั้งกำหนดเวลาคิดว่าน่าจะค่อย ๆ ทยอยทำงานนั้นไป

 

สุดท้ายแล้ว การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับงานก็ช่วยลดความเครียดไปได้ค่ะ ร่างกายที่พร้อม จิตใจที่แข็งแรงนับเป็นพื้นฐานที่ดี แต่ยังมีวิธีเตรียมความพร้อมเพิ่มเติมได้ เช่น การจัดสรรเวลาที่ดี การนึกทบทวนนำเอาวิธีการทำงานหรือแนวทางการแก้ปัญหาที่เคยใช้ได้ผลในอดีตกลับมาใช้อีก และหากเฉพาะเราคนเดียวแบกรับงานกองโตไม่ไหว การขอรับกำลังกาย กำลังใจ หรือคำแนะนำจากคนข้างเคียงก็นับเป็นตัวช่วยที่ดีในการบรรเทาความเครียดค่ะ

 

 

การตั้งหลักทบทวนทำความเข้าใจที่มาและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับงานจะช่วยลดความเครียดของเราลงได้ และหากได้ทดลองใช้ให้คุ้นชินตั้งแต่ต้นปี ก็น่าที่จะช่วยให้คุณได้มีเครื่องมือใหม่ ๆ ไว้ใช้จัดการความเครียดต่อไปนะคะ แต่หากลองตั้งหลักทบทวนแล้ว ยังมีประเด็นที่คุณอยากพูดคุยเพิ่มเติมเพื่อจัดการความเครียดของคุณ ติดต่อนักจิตวิทยาได้นะคะ

 

 

 


 

 

 

บทความโดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ

อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาการปรึกษา

 

พิธีตักบาตรเนื่องในโอกาสขึ้นพุทธศักราชใหม่ 2568 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

วันที่ 9 มกราคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา พร้อมด้วยคณาจารย์และบุลากรคณะจิตวิทยา เข้าร่วมพิธีตักบาตรเนื่องในโอกาสขึ้นพุทธศักราชใหม่ 2568 ที่จัดขึ้นโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ลานพระศรีมหาโพธิ์ หน้าอาคารจามจุรี 4 เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชาวจุฬาฯ ในการเริ่มต้นปีใหม่

ภายหลังพิธีตักบาตร ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานพิธี และ ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ ได้ให้โอวาทและอวยพรปีใหม่แก่ชาวจุฬาฯ

 

 

 

 

 

 

นิสิตคณะจิตวิทยาได้รับรางวัลเด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ ด้านกีฬาและนันทนาการ 2568

 

คณะจิตวิทยาขอแสดงความยินดีและภาคภูมิใจกับ นางสาวปัฌรวี ชยวรารักษ์ นิสิตคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้รับรางวัลเด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ ด้านกีฬาและนันทนาการ เนื่องในวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2568 จากกระทรวงศึกษาธิการ (ชนิดกีฬาว่ายน้ำลีลา ประเภทบุคคล) ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2568

 

 

 

 

 

 

ปฏิทินโครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา ปี 2568

 

โครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา สำหรับบุคคลทั่วไป

โดยงานบริการวิชาการกลาง คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2568

 

 

โครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ
เวลาจัดอบรม
ช่วงเวลารับสมัคร
สถานะ
พื้นฐานและมุมมองทางจิตวิทยาสำหรับการร่วมมือข้ามศาสตร์ 18 ม.ค. 68 ธ.ค. 67 อบรมเสร็จสิ้นแล้ว
เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง 22 มี.ค. 68 ม.ค – ก.พ. 68 ปิดรับสมัครแล้ว
Bias & Diversity Management in Organizations 26 เม.ย. 68 มี.ค. 68 อบรมเสร็จสิ้นแล้ว
จิตวิทยาการจัดการเวลา 21 มิ.ย. 68 พ.ค. 68 ใกล้เปิดรับสมัคร
ความรู้พื้นฐานจิตวิทยาพัฒนาการ 9 – 20 มิ.ย. 68 พ.ค. 68 เปิดรับสมัครอยู่
ทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด 7 มิ.ย. – 2 ส.ค. 68 เม.ย. 68 ปิดรับสมัครแล้ว
ความรู้พื้นฐานจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ 16 มิ.ย. – 21 ก.ค. 68 พ.ค. 68 เปิดรับสมัครอยู่
ความรู้สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางจิตวิทยา 7 – 18 ก.ค. มิ.ย. 68 เปิดรับสมัครอยู่
Mental Well-being Management in Organizations ตุลาคม 68 ก.ย. 68 New
อบรมความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับประชาชนทั่วไป พ.ย. – ธ.ค. 68 ต.ค. 68 ปี 67 ที่ผ่านมา
Monte Carlo Simulations for Sample Size Planning TBA TBA New

 

 

 

 

 

ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 108 ปี แห่งการสถาปนาคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

 

วันที่ 3 มกราคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร และร่วมแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ และผู้บริหารคณะอักษรศาสตร์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 108 ปี แห่งการสถาปนาคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ อาคารมหาจักรีสิรินธร