ข่าวและกิจกรรม

Workshop : การทำงานวิจัย Meta-analysis

ประชาสัมพันธ์ Workshop เรื่องการทำงานวิจัย Meta-analysis
จัดโดยอาจารย์ William H. O’Brien, PhD จาก BGSU

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม เวลา 19.00-20.30 น. Eastern Time (หรือเวลา 6.00-7.30 AM Thailand time)

 

 

[Event in English]
This workshop will provide instruction on (a) the conceptual foundations of meta-analysis and (b) procedures used to calculate the most commonly used effect sizes (d, r), calculate effect size variance, aggregate effect sizes across studies, calculate effect size heterogeneity, conduct moderator analyses, and calculate publication bias.
The workshop will be conducted across 3 sessions with each being approximately 1.5 hours long. Between sessions students will have opportunities to practice meta-analytic procedures using data from published studies.

 


Topic: William H O’Brien’s Zoom Meeting
Time: Mar 18, 2022 08:00 AM Eastern Time (US and Canada)
Join Zoom Meeting
https://bgsu-edu.zoom.us/j/84745897614…
Meeting ID: 847 4589 7614
Passcode: 560279
Interested individuals can e-mail eastwestpsycu@gmail.com for the workshop material.

 


 

Life Di Hackathon – Mental Health Innovation Challenge 2022

ขอเชิญชวน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจการสร้างนวัตกรรมด้านจิตวิทยาพัฒนาการ
เข้าร่วมเวิร์คชอปสร้างนวัตกรรมด้านจิตวิทยาพัฒนาการ พร้อมส่งไอเดียเข้าประกวดไอเดียธุรกิจด้านจิตวิทยาพัฒนาการในโครงการ

 

 

Life Di Hackathon – Mental Health Innovation Challenge

 

 

 

โครงการนี้แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ

  1. Child development & Early Intervention ผลิตภัณฑ์หรือการบริการสำหรับเด็กเล็ก
  2. Intergeneration with Aging ผลิตภัณฑ์หรือการบริการเพื่อตอบปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างวัยกับผู้สูงอายุ
  3. Performance & Competitive anxiety (Music & Sport) ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เกี่ยวกับการจัดการความวิตกกังวลจากการแข่งขันกีฬาและดนตรี

 

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการก่อนเข้าร่วมกิจกรรมได้ภายในเว็บไซต์ https://www.chulalifedi.com

 

 

 

ผู้เข้าร่วมจะได้พบกับผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาพัฒนาการ จากคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะมาเข้าร่วมแบ่งปันความรู้และให้คำปรึกษาในการสร้างนวัตกรรมของแต่ละทีม

 

เงินรางวัล

– อันดับ 1 : 25,000.-
– อันดับ 2 : 15,000.-
– อันดับ 3 : 10,000.-
– รางวัลพิเศษ (Popular vote) : 5,000.- จากยอด Like + Share ไอเดียของแต่ละทีม

 

กติการการรับสมัคร

– รับสมัครแบบเดี่ยว
– กรณีมีทีมอยู่แล้วให้สมาชิกแต่ละท่านแยกสมัครแล้วกรอกชื่อทีมในช่องที่ระบุ
– เข้าร่วมกิจกรรมจับทีมในวันเสาร์ที่ 2 ก.ค. 2565

 

รายละเอียดกิจกรรม

 

Workshop Day: เสาร์ที่ 2 ก.ค. 2565 (On-site ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10) ชั้น 20
Pitching Day: เสาร์ที่ 9 ก.ค. 2565 (Online ผ่าน Zoom)

 

กำหนดการ

 


 

เสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2565
ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10) ชั้น 20

 

9:00 – 9:30 น. พิธีเปิด โดย คณบดีคณะจิตวิทยา และรองอธิการบดี,  แนะนำการแข่ง  Mentors & experts
9:30 – 11:00 น. Knowledge Sharing
     – ประเด็นที่สังคมสนใจเกี่ยวกับงานด้านพัฒนาการเด็ก โดย รศ.ดร.พรรณระพี สุทธิวรรณ
     – ประเด็นที่สังคมสนใจเกี่ยวกับงานด้วยความสัมพันธ์ผู้สูงวัย โดย อ.ดร.นิปัทม์ พิชญโยธิน
     – ประเด็นที่สังคมสนใจเกี่ยวกับงานด้าน Performance & Competitive Anxiety โดย รศ. สักกพัฒน์ งามเอก
11:00 – 12:00 น. Workshop: Lab-to-Market – สร้าง Use Case ทางธุรกิจด้วย Customer Journey Mapping
12:00 – 13:00 น. พักเที่ยง
13:00 – 15:00 น. Team Formation Workshop และแจก Pitching Template
15:00 – 15:15 น. พักเบรก
15:15 – 16:00 น. Knowledge Sharing เคล็ดลับการสร้างสตาร์ทอัพ, Lean Canvas และ การออกแบบธุรกิจ
 Team Formation โดย Professor Sukanlaya Sawang, Coventry University
17:00 – 18:00 น. สรุปกิจกรรมประจำวันและนัดหมาย

 

Mentoring Session ทางออนไลน์
วันจันทร์ที่ 4 –  วันศุกร์ที่ 8 ก.ค. 2565
ช่วงเวลา 17:00 – 19:00 น.  (ตาม booking slot)

 


 

เสาร์ที่ 9 กรกฎาคม 2565
Online ผ่าน Zoom

 

8:30 – 9:00 น. ทีมรายงานตัว
9:00 – 10:30 น. Knowledge Sharing – Pitching Tips by Hackathon Thailand
10:30 – 12:00 น. Mentoring Session
13:00 – 16:00 น. Pitching (Presentation 5 นาที + Q&A 5 นาที)
16:00 – 17:00 น. กรรมการประชุมให้คะแนน
17:00 – 17:30 น. การประกาศผลรางวัล

 


 

 

หากท่านสนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างนวัตกรรมทางจิตวิทยาพัฒนาการ

สามารถเข้าไปลงทะเบียนได้ที่ https://bit.ly/lifedihackathon

 

หากมีข้อสงสัยกรุณาติดต่อ sindy@hackathonthailand.com

โครงการ Mental Health University Incubation 2022 : รับสมัครอาสาสมัครผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นสุขภาพจิต

ประชาสัมพันธ์รับสมัครอาสาสมัครผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นสุขภาพจิตเพื่อการพัฒนาเครื่องมือ
เพื่อสร้างเสริมสุขภาพจิต ของโครงการ Mental Health University Incubation 2022

 

ศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับ Innowhale จัดโครงการ Mental Health University Incubation 2022 โดยมีเป้าหมายให้กลุ่มนิสิตคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงนิสิตที่จบการศึกษาที่สนใจสร้างสรรค์เครื่องมือด้านสุขภาพจิตได้เรียนรู้กระบวนการ Design Thinking และฝึกสร้างต้นแบบที่สามารถตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายในประเด็นสุขภาพจิต

 

ทีมงานเชื่อว่าเครื่องมือหรือบริการที่ตอบโจทย์จะต้องเริ่มจากการเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย/ผู้ใช้งาน ทีมงานจึงขอเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายที่มีเรื่องราวไม่สบายใจในประเด็นสุขภาพจิตร่วมให้สัมภาษณ์ (ออนไลน์) กับกลุ่มนิสิตผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อให้ทีมทำความเข้าใจปัญหาและหาโอกาสในการพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิตอย่างยั่งยืน

 

โดยผู้เข้าร่วมจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. อายุ 21 – 30 ปี
  2.  มีเรื่องที่ไม่สบายใจและยังไม่สามารถจัดการได้ในประเด็น
    – การตัดสินใจเกี่ยวกับเส้นทางอาชีพ/การเลือกเรียน เป้าหมายในชีวิต
    – การจัดการความคาดหวังจากตนเองและคนอื่น
    – ความมั่นใจและตระหนักในคุณค่าของตัวเอง
    – การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่
    – ความสัมพันธ์ กับครอบครัว เพื่อน หรือคนรัก
  3. สะดวกให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสัมภาษณ์และทดสอบไอเดีย (ออนไลน์) ในวันที่ 11 มิถุนายน (12.00 – 15.00 น.) และ 12 มิถุนายน (10.00 – 11.30 น.) หรือ วันที่ 13 มิถุนายน (12.00 – 15.00 น.) และ 14 มิถุนายน (10.00 – 11.30 น.)

 

สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 8 มิถุนายน 2565 ผ่านแบบฟอร์มออนไลน์
https://docs.google.com/…/1FAIpQLSf1HP36Xu1Ef9…/viewform

 

ในการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลทีมงานจะพิจารณาถึงความเหมาะสม และจะรีบติดต่อกลับไปเพื่อยืนยันการนัดหมายเข้าร่วมกิจกรรม

 

ข้อมูลที่ท่านให้จะมีประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาเครื่องมือในการดูแลสุขภาพจิตให้กับสังคมไทยในอนาคตค่ะ
ขอบคุณค่ะ

ศูนย์ประเมินทางจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท แอล ซอฟท์โปร (L SOFTPRO) จำกัด ได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ศูนย์ประเมินทางจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท แอล ซอฟท์โปร (L SOFTPRO) จำกัด ได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการว่าด้วยการจัดทำระบบประเมิน ระบบทดสอบ และการอบรมในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานภายนอกและสังคม

 

 

โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในนามของศูนย์ประเมินทางจิตวิทยา ลงนามร่วมกับ นายจรัสพงศ์ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอล ซอฟท์โปร จำกัด ณ ห้องประชุมชั้น 18 อาคารล็อกซเล่ย์ คลองเตย

การลงนามในข้อตกลงทางวิชาการนี้มีจุดประสงค์คือการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันองค์ความรู้ทางวิชาการของคณะจิตวิทยาและความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีของบริษัทแอล ซอฟท์โปร เพื่อพัฒนาเป็นระบบการประเมินและจัดอบรมรูปแบบออนไลน์ที่ทันสมัย เข้าถึงได้ง่าย และตอบสนองต่อความต้องการในการเป็นผู้นำองค์ความรู้ยุคใหม่ตามพันธกิจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม
ที่ผ่านมา ศูนย์ประเมินทางจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาฯ และบริษัท แอล ซอฟท์โปร ได้พัฒนาระบบแบบประเมินต่างๆ ร่วมกันอยู่แล้ว การลงนามในข้อตกลงครั้งนี้เป็นการยืนยันว่าทั้งสององค์กรจะร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรมและครบวงจรมากขึ้น รวมไปถึงร่วมกันขยายโอกาสเพิ่มการจัดการอบรมทางด้านจิตวิทยาแบบปฏิบัติจริงให้กับองค์กรต่างๆที่สนใจ ควบคู่ไปกับการใช้ระบบประเมินออนไลน์ต่อไป

 

 

 


ขอบคุณรูปภาพจาก โพสต์ทูเดย์ออนไลน์ และ ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวการลงนามข้อตกลงทางวิชาการ :
แอล ซอฟท์โปร จับมือคณะจิตวิทยา จุฬาฯ พัฒนาระบบประเมินผลอิเล็กทรอนิกส์
Source – มติชนออนไลน์
แอล ซอฟท์โปร จับมือคณะจิตวิทยา จุฬาฯ พัฒนาระบบประเมินผลอิเล็กทรอนิกส์
Source – ฐานเศรษฐกิจ
L Softpro ร่วมมือคณะจิตวิทยา จุฬาฯ พัฒนาระบบประเมินผลอิเล็กทรอนิกส์
Source – ผู้จัดการออนไลน์
แอล ซอฟท์โปร จับมือคณะจิตวิทยา จุฬาฯ พัฒนาระบบประเมินผลอิเล็กทรอนิกส์
Source – โพสต์ทูเดย์ออนไลน์
“แอล ซอฟท์โปร” จับมือคณะจิตวิทยา จุฬาฯ พัฒนาระบบประเมินผลอิเล็กทรอนิกส์
Source – สยามรัฐออนไลน์
แอล ซอฟท์โปร จับมือคณะจิตวิทยา จุฬาฯ พัฒนาระบบประเมินผลอิเล็กทรอนิกส์
Source – แนวหน้าออนไลน์
แอล ซอฟท์โปร จับมือคณะจิตวิทยา จุฬาฯ พัฒนาระบบประเมินผลอิเล็กทรอนิกส์
Source – บ้านเมืองออนไลน์
แอล ซอฟท์โปร จับมือคณะจิตวิทยา จุฬาฯ พัฒนาระบบประเมินผลอิเล็กทรอนิกส์
Source – ijournalist
แอล ซอฟท์โปร จับมือคณะจิตวิทยา จุฬาฯ พัฒนาระบบประเมินผลอิเล็กทรอนิกส์
Source – kinyupen

“เราเข้าใจเธอนะ” บนโลกออนไลน์

เพราะอะไร ??? เพียงแค่เราอ่านข้อความผ่านหน้าจอ

แต่เรากลับเข้าใจได้ว่า อีกฝ่ายกำลังรู้สึกอย่างไร ???

 

ถึงแม้ว่าการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์อาจทำให้เราไม่ได้เห็นสีหน้า ไม่ได้ยินน้ำเสียงเทียบเท่ากับการปฏิสัมพันธ์แบบต่อหน้า แต่จริง ๆ แล้วจากระบบวิเคราะห์ของเว็บไซต์ออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Facebook และ Twitter พบว่าข้อความที่โพสต์ลงเว็บมักเกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางอารมณ์ทั้งสิ้น ที่สำคัญคือ เราต่างสามารถรู้และเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่นแม้อยู่ในโลกออนไลน์ได้เช่นเดียวกัน

ถ้าเช่นนั้น…. เรารู้และเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่นแม้อยู่ในโลกออนไลน์ได้อย่างไร ???

 

ความสามารถนี้สามารถอธิบายได้ด้วยสิ่งที่เรียกว่า Empathy หรือ การรู้และเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกผู้อื่น เป็นความพยายามที่จะเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น โดยจินตนาการเหมือนว่าเราได้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์ของอีกฝ่าย โดยนักจิตวิทยา Daniel Goleman ได้กล่าวถึง “Empathy” ไว้ว่า เป็นความสามารถในการรับรู้ในสิ่งที่ผู้อื่นรู้สึก มองเห็นในมุมเดียวกับที่ผู้อื่นมอง

และด้วย empathy นี่แหละที่ทำให้เราสามารถสัมผัสได้ถึงความรู้สึกที่บุคคลนั้นไม่ได้พูดออกมา รวมถึงสามารถเข้าใจความคิดและวิธีการมองโลกของอีกฝ่ายได้

 

Empathy เป็นความสามารถที่สำคัญต่อทุกบริบทในการดำเนินชีวิตของบุคคลในทุกช่วงวัย
เด็กที่สามารถรู้และเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกผู้อื่นย่อมเรียนรู้ที่จะสร้างสัมพันธภาพที่ดีทางสังคมกับเพื่อนและคนรอบข้างได้
ในขณะเดียวกัน ผู้ใหญ่ที่มีความเข้าอกเข้าใจกันก็จะสามารถควบคุมอารมณ์ ทำงานเป็นทีม มีการแสดงออกทางอารมณ์และมีการตอบสนองต่อผู้คนรอบข้างได้อย่างเหมาะสมเช่นกัน

 

โดย empathy สามารถแบ่งออกเป็น 3 ด้านด้วยกัน คือ
ด้านที่ 1 การรรับรู้และมองออกว่าผู้อื่นกำลังรู้สึกอย่างไร หรือ Cognitive empathy
ด้านที่ 2 การรู้สึกเหมือนกับที่ผู้อื่นรู้สึก หรือ Emotional / Affective empathy
ด้านที่ 3 ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจและปรารถนาดีต่อผู้อื่น หรือ Compassionate empathy

 

หากเรากลับมามองที่การสื่อสารในโลกออนไลน์ ที่บางครั้งเราอาจเห็นเพียงตัวอักษรโดยปราศจากคำใบ้ เช่น สีหน้า หรือ น้ำเสียง ที่จะทำให้เรารับรู้ได้ถึงอารมณ์ของผู้ส่งสาร อีกทั้งยังต้องใช้เวลานานกว่าจะได้รับคำตอบ จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่า ด้วยลักษณะการสื่อสารเช่นนี้ empathy อาจเกิดขึ้นได้ยากระหว่างผู้คนที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน

 

อย่างไรก็ตาม…. ความพยายามของเราที่จะหาสิ่งอื่นมาทดแทนคำใบ้ที่หายไป ความต้องการที่อยากจะเล่าหรือแบ่งปันประสบการณ์หรือความสนใจให้ผู้อื่นได้เข้าใจ สิ่งเหล่านี้กลายเป็นแรงผลักที่ทำให้เราสามารถพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้อื่นผ่านทางโลกออนไลน์ได้

โดยจากงานวิจัยที่ศึกษาการสื่อสารผ่านโลกออนไลน์พบว่า การได้รับเนื้อหา (ข้อความที่ได้อ่าน) และ อารมณ์ที่แฝงอยู่ในข้อความ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคนที่สนิทสนมคุ้นเคยบ่อยๆ จะเอื้อให้เรามี empathy ทั้ง 3 ด้าน

โดยจะช่วยสร้างการรับรู้และมองออกว่าผู้อื่นกำลังรู้สึกอย่างไร (cognitive empathy) ได้ และหากการสื่อสารนั้นมีความเป็นส่วนตัวและมีอารมณ์ทางบวก เช่น สร้างความสุข ความสนุกสนาน ความสามารถในการรับรู้และการมองออกว่าผู้อื่นกำลังรู้สึกอย่างไร ยิ่งเกิดได้ง่ายมากขึ้น และเมื่อเริ่มเข้าใจว่าผู้อื่นรู้สึกเช่นไร เราก็จะสามารถรู้สึกเหมือนกับที่ผู้อื่นรู้สึก (emotional / affection empathy) และรู้สึกเห็นอกเห็นใจและปรารถนาดีต่อผู้อื่น (compassionate empathy) ได้

 

ในขณะเดียวกัน หากเราเคยมีประสบการณ์หรือได้พบเห็นข้อมูลและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกถึง การรู้และความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น (empathy) ในการปฏิสัมพันธ์ผ่านโลกออนไลน์ จะช่วยให้เราสามารถรับรู้และตีความสิ่งที่พบในโลกออนไลน์ได้อย่างมี empathy มากขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม… ก็ยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมว่า การที่เรามีประสบการณ์เห็นเนื้อหาหรือเรื่องราวที่แสดงถึงการรู้และเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่นในโลกออนไลน์ช่วยให้เราสามารถรับรู้และเข้าใจผู้อื่นได้อย่างไร ด้วยกระบวนการใด

แต่ในปัจจุบันที่เราต่างใช้โลกออนไลน์เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่หรือกระทั่งผู้สูงอายุ การปฏิสัมพันธ์ในโลกออนไลน์ก็ไม่แตกต่างกับการปฏิสัมพันธ์แบบต่อหน้า ในแง่ที่ว่าท้ายที่สุดแล้ว…เราก็กำลังสื่อสารกับคนๆ หนึ่งที่มีอารมณ์ความรู้สึกเช่นเดียวกัน การที่เรามีปฏิสัมพันธ์กันบนพื้นฐานของการรู้และเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของอีกฝ่ายย่อมส่งผลให้เราสามารถทำความเข้าใจคู่สนทนาได้มากขึ้นและสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันได้แม้จะไม่ได้เห็นหน้ากันก็ตาม

 


 

รายการอ้างอิง

Powell, P., & Roberts, J. (2017). Situational determinants of cognitive, affective, and compassionate empathy in naturalistic digital interactions. Computers in Human Behavior, 68, 137-148.

Hodges, S. D., & Myers, M. W. (2007). Empathy. In R. F. Baumeister & K. D. Vohs (Eds.), Encyclopedia of social psychology (pp. 296-298). SAGE Publications.

Goleman, D. (2017, June 7). Empathy: A key to effective leadership. https://www.linkedin.com/pulse/empathy-key-effective-leadership-daniel-goleman

 

บทความโดย ฐิติรัตน์ ลีละวินิจกุล และ จิรภัทร รวีภัทรกุล

 


 

รู้จัก “มาตรวัดทางจิตวิทยา”

ในช่วงชีวิตของคนเราไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก วัยเรียน หรือวัยทำงานคงต้องมีสักครั้งหนึ่งที่เราได้ผ่านการทดสอบและการประเมินทางจิตวิทยาด้วยมาตรวัดมาแล้วทั้งในลักษณะของการวัดความสามารถทางเชาว์ปัญญา (IQ) การประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) หรือการทดสอบบุคลิกภาพ (Personality Test) อีกทั้งปัจจุบันนี้มีแบบทดสอบทางจิตวิทยาหลากหลายที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายตาม Social Network อาทิ แบบทดสอบบุคลิกภาพ 16 แบบ (MBTI) อันเป็นที่นิยมอย่างมากในสังคมออนไลน์

 
คงทำให้หลาย ๆ คนสงสัยไม่มากก็น้อยเลยว่าเพียงแค่ตอบคำถามไม่กี่คำถามที่ปรากฎขึ้นบนหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือของเรา จะสามารถทำให้เรารู้จักตัวตนของตัวเองได้มากขึ้นจริงหรือไม่
 
ในการตอบคำถามที่ทุกคนอาจเคยมีความสงสัยนั้น อันดับแรกเรามาเริ่มจากการทำความรู้จักมาตรวัดเพื่อการประเมินทางจิตวิทยากัน
 
แบบทดสอบหรือมาตรวัดทางจิตวิทยานั้นในอดีตถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการคัดเลือกบุคลากรทางการทหาร วินิจฉัยโรคทางจิตเวชและคัดกรองผู้ป่วย ซึ่งการประเมินหรือแบบทดสอบเหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถคัดกรองได้ในหลากหลายมิติและตัวแปรทางจิตวิทยา เช่น สุขภาวะทางจิต ภาวะทางอารมณ์ ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เป็นต้น โดยตัวแปรเหล่านี้จะถูกใช้เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของความสามารถของบุคคล ความเป็นไปของโรคและใช้พิจารณาสำหรับการรักษาต่อไป
 
แต่เมื่อเวลาผ่านไปความหลากหลายของแบบทดสอบทางจิตวิทยานั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก แบบทดสอบเหล่านี้จึงถูกใช้ทางด้านการศึกษา การวัดความถนัด การประเมินความบกพร่องด้านต่าง ๆ และการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานในองค์กรอีกด้วย
 
โดยมาตรวัดทางจิตวิทยานั้นมักประกอบด้วย ข้อคำถามที่มุ่งเน้นการสะท้อนถึงตัวแปรต่าง ๆ ทางจิตวิทยาตามทฤษฎีที่เป็นแกนหลักในการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบทดสอบบุคลิกภาพซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับคำตอบตามความเป็นจริงที่ตรงกับตัวผู้ถูกประเมินมากที่สุด เพื่อให้แนวโน้มของคำตอบมีความแม่นยำมากขึ้นและสามารถสะท้อนบุคลิกภาพของบุคคลตามทฤษฎีได้นั่นเองค่ะ
 
ศูนย์ประเมินทางจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการให้บริการมาตรวัดทางจิตวิทยาที่หลากหลายทั้งทางด้านการวัดความถนัด ทดสอบบุคลิกภาพ วัดความสามารถทางเชาว์ปัญญารวมไปถึงมาตรวัดทางจิตวิทยาเกี่ยวกับการทำงานอีกด้วย นิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรี/โท/เอก ที่สนใจมาตรวัดต่างๆสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ : psyassesscu@gmail.com 
 
นอกเหนือจากนี้ยังสามารถทำความรู้จักเกี่ยวกับมาตรวัดทางจิตวิทยาได้ในบทความจากสารคดีทางวิทยุรายการจิตวิทยาเพื่อคุณ – วิทยุจุฬาฯ FM 101.5 MHz โดย อาจารย์สักกพัฒน์ งามเอก คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ : https://smarterlifebypsychology.com/2018/01/09/แบบวัดทางจิตวิทยา/
 
 
ขอให้เป็นวันที่ดีของทุก ๆ คนครับ

ประชาสัมพันธ์การเสวนาเรื่อง การโทษเหยื่อ (victim blaming)

การโทษเหยื่อ (victim blaming) หรือ การมุ่งไปที่ผู้ถูกกระทำหรือผู้เสียหาย โดยเฉพาะในกรณีการถูกคุกคามทางเพศเป็นสิ่งที่ยังคงอยู่ในสังคมเรา

  • ทำไมถึงควรยุติการโทษเหยื่อ 
  • การโทษเหยื่อมีผลต่อผู้ถูกกระทำอย่างไร ทั้งทางสุขภาพและการเรียกร้องความยุติธรรม และผลต่อสังคมโดยรวมคืออะไร
  • คนในสังคมจะทำยังไงถึงจะช่วยขจัดการโทษเหยื่อได้ 
  • ปัจจัยทางจิตวิทยาสังคมอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการโทษเหยื่อ เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่

 

 

 

ร่วมแลกเปลี่ยนกับนักจิตวิทยาสังคมและนักจิตวิทยาการปรึกษา ผ่านคลับเฮ้าส์ห้องจิตวิทยาสังคมกับสังคม

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 19.00-21.00 น. 

หากไม่สะดวกฟังสด สามารถรับฟังคลิปเสียงที่บันทึกไว้ได้ค่ะ

 

https://www.clubhouse.com/room/myldGvJ4?utm_campaign=zyocyw1VIHqsVvKX3ZCmkQ-155972&utm_medium=ch_event

รับสมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาโท-เอก ปีการศึกษา 2565 รอบที่ 2

รับสมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาโท-เอก ปีการศึกษา 2565 รอบที่ 2
ระหว่างวันที่ 20 เม.ย. – 20 พ.ค. 2565

 

 

แขนงวิชาที่เปิดรับ
– Basic and Applied Social Psychology
– จิตวิทยาพัฒนาการ
– จิตวิทยาทรัพยากรมนุษย์และการทำงาน
– การวิจัยจิตวิทยาประยุกต์

((จำนวนรับทั้งหมดรวมกับรอบแรก))

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


→ https://www.grad.chula.ac.th/

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณวัลลภ สีหเดชวีระ
ในเวลาราชการ โทร. 02-218-1184
E-Mail: wanlop.s@chula.ac.th

 


 

Here to heal Online Workshop: Internalised Oppression

“Internalised Oppression” การกดขี่ตนเอง
จะทำอย่างไรเมื่อตนเองเริ่มคิดและเชื่อตามการกดขี่ คำเหยียด มุมมองต่าง ๆ ที่สังคมพร่ำบอก

 

 

 

Here to heal ชวนคุณมาทำความรู้จัก “Internalised Oppression” ใน Online Workshop ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

 

ในหัวข้อเรื่อง “Internalised Oppression” การกดขี่ตนเอง

 

โดยวิทยากร อ. ดร.พนิตา เสือวรรณศรี หัวหน้าศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ในวันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2565 เวลา 15.00-17.00 น.

 

สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://docs.google.com/…/1gEha…/edit

โดยทางทีมงานจะจัดส่งลิงก์ Zoom ให้ผู้ลงทะเบียนทุกท่านในวันศุกร์ที่ 17 เวลา 15.00 น. ผ่านทาง Email ที่ใช้ลงทะเบียนเข้าร่วม หรือหากไม่ได้

รับอีเมลสามารถทักสอบถามข้อมูลที่ LINE OFFICIAL ACCOUNT

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://lin.ee/P77s2bW
ในเวลาทำการ 10.00-22.00 น.

 


 

 

Workshop นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ here to heal โดยคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สสส.
เป็นโครงการให้บริการแชทพูดคุยกับนักจิตวิทยา ฟรี
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อผ่าน Line official หรือทางเพจเฟซบุ๊ก Here-to-Heal เพื่อนัดหมายเวลาพูดคุยได้เลยค่ะ

สีรุ้งเริ่มสดใส งานวิจัยเกี่ยวกับการ (ไม่) กีดกัดบุคคลข้ามเพศในการสมัครงาน

Pride Month เดือนแห่งสีรุ้ง

 

เดือนมิถุนายนนี้เป็นเดือนที่เรียกว่า Pride Month หรือเดือนแห่งความภาคภูมิใจในตนเองของผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGTBQ+ บทความนี้จึงอยากจะกล่าวถึงสถานการณ์การยอมรับสมาชิกจากกลุ่มนี้ในประเทศไทยค่ะ เอาจริง ๆ แล้วเรียกว่าการยอมรับก็อาจจะดูไม่เหมาะสมนัก เพราะฟังประหนึ่งว่าคนอื่น ๆ ถูกยกให้อยู่เหนือกว่าเหล่าสีรุ้ง LGTBQ+ และ “เป็นผู้ให้การยอมรับ” พวกเขา ซึ่งจริง ๆ แล้วพวกเราทุกคนก็คนเหมือนกัน มีสิทธิเท่าเทียมกันทุกประการ แบบนี้น่าจะหมายความว่า เราน่าจะอยู่ร่วมกันได้อย่างเท่า ๆ กัน ไม่ต้องรอให้ใครให้การยอมรับใคร จริงไหมคะ?  เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า ในประเทศไทยเรา ชาวสีรุ้งได้รับการปฏิบัติไปในเชิงดูหมิ่นหรือไม่ได้รับความเท่าเทียม จริงหรือไม่ค่ะ

 

 

งานวิจัยทางจิตวิทยาสังคม – เราปฏิบัติกับชาวสีรุ้งอย่างไร?

 

ดิฉันได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับนิสิตระดับปริญญาตรีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ อันเป็นส่วนหนึ่งของการทำโครงงานวิจัยของนิสิตปีสุดท้าย โดยนิสิต ชนิตา ราวีศรี ระเบียบ โพธิ์ชัย และวัชราภรณ์ เสนศรี ได้ศึกษาเพื่อดูว่า ชาว LGTBQ+ ในประเทศไทยถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมเมื่อสมัครเข้าทำงานหรือไม่ เนื่องจากการทำงานเป็นส่วนที่สำคัญมากในชีวิตเรา ไม่มีงานก็ไม่มีเงินเพื่อดำเนินชีวิตจริงไหมคะ?

 

ส่วนกลุ่มชาวสีรุ้งนั้น เราเจาะจงไปที่กลุ่ม Transwomen หรือผู้ที่เป็นชายและข้ามเพศมาเป็นหญิง (มีการเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกายเป็นหญิง) เนื่องจากมักมีประเด็นยุ่งยากในการสมัครงานชัดเจนกว่ากลุ่มอื่น เช่น รูปร่างหน้าตาที่เป็นหญิงไม่ตรงกับคำนำหน้าชื่อที่เป็นชาย นอกจากนี้ ทฤษฎีเกี่ยวกับการรังเกียจกลุ่มสมัยใหม่ยังเสนอว่า แม้คนเรามักจะเก็บอาการไม่แสดงการรังเกียจกลุ่มอื่นอย่างตรงไปตรงมาโดยเฉพาะในการพิจารณาจ้างงานเขา แต่เรามักแสดงการรังเกียจสมาชิกกลุ่มอื่นออกมาเมื่อต้องประเมินคนกลุ่มนั้นในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ และโดยเฉพาะเมื่อมีเหตุผลบังหน้าให้อ้างเป็นเหตุผลที่จะไม่รับคนกลุ่มนั้นเข้าทำงาน

 

การวิจัยของเราจึงสร้างสถานการณ์เปรียบเทียบกันระหว่าง การมีผู้สมัครงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการ ที่เป็นเพศหญิงตรงเพศ กับ เป็นหญิงข้ามเพศ ส่งประวัติการทำงานและคุณสมบัติที่เหมือนกันทุกอย่างมาให้ผู้ร่วมการทดลองที่เป็นผู้ใหญ่ที่ทำงานด้านบริหารทรัพยากรบุคคลหรือคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน ได้อ่านและประเมินผู้สมัคร แต่ที่น่าสนใจคือ เราได้ใส่ข้อมูลลักษณะทางลบของผู้สมัครเข้าไปด้วยว่า คนคนนี้เป็นคนยิ้มยาก และอาจจะทำให้มีปัญหาการประสานงานกับเพื่อนร่วมงานได้ เจ้าลักษณะยิ้มยากนี้เองค่ะที่เราตั้งใจให้เป็นเสมือนข้ออ้างทำให้ผู้ประเมินสามารถแสดงการกีดกันไม่ให้คนข้ามเพศเข้าทำงานหรือเสนอเงินเดือนเริ่มต้นที่ต่ำกว่าได้

 

ผลการวิจัยปรากฏว่า ไม่ว่าจะเป็นหญิงข้ามเพศหรือหญิงตรงเพศ และผู้ประเมินเป็นหญิงหรือชายก็ตาม ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจจ้างงาน การประเมินเงินเดือน และการประเมินโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ แต่เมื่อผู้สมัครมีลักษณะยิ้มยากจะถูกประเมินว่าน่าจ้างงานน้อยกว่าและน่าจะมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพน้อยกว่า เมื่อผู้สมัครไม่มีลักษณะยิ้มยาก ซึ่งตรงนี้ขอบอกชัดๆ นิดนะคะว่า ไม่ว่าผู้สมัครจะเป็นหญิงตรงเพศหรือหญิงข้ามเพศ หากมีลักษณะทางลบนี้ก็จะได้รับการประเมินไม่ค่อยดีเช่นเดียวกัน แสดงให้เห็นว่า ไม่มีการเลือกปฏิบัติทางลบต่อผู้สมัครงานหญิงข้ามเพศแต่อย่างใด หรือ หญิงข้ามเพศได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกับหญิงตรงเพศ

 

 

แน่ใจหรือว่า เราให้ความเท่าเทียมกับหญิงข้ามเพศในการสมัครงาน?

 

เพื่อความแน่ใจ หนึ่งปีต่อมาดิฉันและนิสิตปีที่ 4 คณะจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งคือ จิรัชญา ตั้งธีระสุนันท์ และ ธนภรณ์ สุธรรมจารี ได้ทำวิจัยซ้ำเพื่อตรวจสอบผลของการวิจัยครั้งที่ 1 โดยทำการวิจัยเช่นเดียวกันทุกอย่างในเรื่องมีหญิงข้ามเพศและหญิงตรงเพศมาสมัครทำงานในบริษัท แต่ได้เปลี่ยนลักษณะทางลบจากยิ้มยาก เป็นมั่นใจในตัวเองสูงเกินไป และให้คนทำงานในตำแหน่งบริหารทรัพยากรบุคคลและคัดเลือกบุคคลในบริษัทต่าง ๆ ช่วยประเมินผู้สมัครทั้ง 2 เพศเพื่อนำผลมาเปรียบเทียบกันและเทียบกับผลที่พบในการวิจัยครั้งที่ 1 เราพบว่า การเป็นหญิงข้ามเพศหรือหญิงตรงเพศ ไม่ใช่ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจจ้างงาน การประเมินเงินเดือน และการประเมินโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพของผู้สมัครงานในบริษัทค่ะ เช่นเดียวกับผลการวิจัยครั้งที่ 1 มีเพียงปัจจัยลักษณะทางลบ ที่ทำให้ผู้ประเมินไม่ค่อยอยากจ้างงานผู้สมัครและมองว่าผู้สมัครจะมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพน้อยกว่า เมื่อไม่มีลักษณะทางลบดังกล่าว

 

โดยสรุปแล้ว เราพบผลที่ยืนยันจากงานวิจัย 2 ชิ้นว่า หญิงข้ามเพศที่สมัครงานตำแหน่งธุรการซึ่งเป็นตำแหน่งปกติทั่วไปในบริษัทต่าง ๆ ไม่ได้รับการกีดกันในการจ้างงาน หรือในการประเมินเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานแต่อย่างใดแม้เมื่อผู้สมัครดังกล่าวมีลักษณะทางลบที่สามารถใช้เป็นข้ออ้างในการไม่อยากจ้างได้ค่ะ ผลการวิจัยทั้ง 2 เรื่องนี้เมื่อรวมกันแล้วจึงมีความน่าเชื่อถือ ที่จะสรุปว่า เรายังไม่พบการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมอย่างน้อยในเรื่องการจ้างงาน ต่อผู้สมัครหญิงข้ามเพศข่าวดีสำหรับเดือนแห่งความเท่าเทียมทางเพศ ของผู้หลากหลายทางเพศค่ะ!

 

อย่างไรก็ตาม เราไม่ได้ศึกษาการสมัครงานในตำแหน่งที่มีความเคร่งครัดมากกว่า เช่น ตำแหน่งครู ที่เป็นไปได้ว่า การไม่ยอมรับเหล่า LGBTQ+ การจะมีมากกว่าก็เป็นได้ค่ะ และเป็นไปได้ว่าการไม่ยอมรับชาวหลากหลายทางเพศนั้นอาจจะพบจากครอบครัวมากกว่าในบริบทของการสมัครงาน

 

 ดิฉันขอส่งท้ายบทความนี้ โดยการส่งสัญญาณอีกครั้งหนึ่งว่า โลกของเราได้เปลี่ยนแปลงไปและเกิดความหลากหลาย อันเป็น “ความจริง” ที่เกิดขึ้นต่อหน้าเราแล้ว หากเรายังเลือกที่จะอยู่กับโลกใบเก่าที่มีเพียงสีขาวและสีดำหรือหญิงกับชายเท่านั้น เราอาจจะพลาดโอกาสที่จะได้ตระหนักว่า คนเราไม่ว่าเพศใดสภาพใด ก็ล้วนมีศักยภาพที่จะทำสิ่งดี ๆ ให้แก่โลกของเราไม่น้อยไปกว่ากันเลย

 

มองฟ้าด้วยสายตาที่เปิดกว้าง แล้วเราก็จะพบความสวยงามของสายรุ้งหลากสีค่ะ

 


 

 

รายการอ้างอิง

 

จิรัชญา ตั้งธีระสุนันท์ และ ธนภรณ์ สุธรรมจารี. (2565). อคติในการจ้างงานต่อผู้หญิงข้ามเพศ: อิทธิพลจากลักษณะทางลบเกี่ยวกับผู้สมัคร และเพศของผู้ประเมิน [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

ชนิตา ราวีศรี, ระเบียบ โพธิ์ชัย, และ วัชราภรณ์ เสนศรี. (2563). อคติในการจ้างงานต่อผู้หญิงต่อผู้หญิงข้ามเพศ: อิทธิพลจากข้อมูลทางลบเกี่ยวกับผู้สมัครและเพศผู้ประเมิน [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

อ่านต่อ

https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0927537120300646

 


 

 

บทความวิชาการ โดย

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์

อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาสังคมพื้นฐานและประยุกต์

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย