News & Events

โครงการการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา เรื่อง “พื้นฐานและมุมมองทางจิตวิทยาสําหรับการร่วมมือข้ามศาสตร์”

 

เนื่องจากศาสตร์จิตวิทยามีความเกี่ยวเนื่องกับศาสตร์อื่น ๆ ค่อนข้างมาก และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกันได้ในหลากหลายกรณี ซึ่งที่ผ่านมา ศาสตร์จิตวิทยาได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องจากผู้ที่ทำงานในศาสตร์อื่น ๆ เพื่อที่จะสร้างสรรค์งานที่ใช้องค์ความรู้ระหว่างศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การผลิตผลงานระหว่างศาสตร์อาจมีอุปสรรคหากผู้ที่ทำงานในศาสตร์อื่น ๆ ขาดมุมมองเชิงกว้างของศาสตร์จิตวิทยาและยังไม่สามารถระบุความต้องการของตนและบทบาทของศาสตร์จิตวิทยาได้อย่างชัดเจน เพื่อให้การบูรณาการระหว่างจิตวิทยาและศาสตร์ต่าง ๆ ได้รับผลลัพธ์ที่น่าสนใจและมีประโยชน์ การอบรมความรู้ที่เปิดมุมมองเชิงกว้างที่สะท้อน “ความร่วมกัน” จากความหลากหลายของศาสตร์จิตวิทยา จะช่วยให้ผู้ที่ทำงานในศาสตร์อื่น ๆ ระบุความเชื่อมโยงระหว่างศาสตร์ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยระยะเวลาที่จำกัด (6 ชั่วโมง) โครงการอบรมจึงตีกรอบให้แคบขึ้น โดยเนื้อหาจะตั้งอยู่บนความพยายามของนักจิตวิทยาและนักวิชาการที่จะ “รวมจิตวิทยาให้เป็นหนึ่ง” (unification of psychology) และได้นำเสนอมุมมองต่าง ๆ ที่ทำให้เข้าใจปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาในมุมกว้าง และสามารถเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ ได้อย่างน่าสนใจ

 

 

ชื่อโครงการ

โครงการอบรมทางจิตวิทยา “พื้นฐานและมุมมองทางจิตวิทยาสำหรับการร่วมมือข้ามศาสตร์ (Bridging Disciplines: Incorporate Psychology into Your Endeavor)”

 

 

วิทยากร

รองศาสตราจารย์สักกพัฒน์ งามเอก

อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

รูปแบบการจัดกิจกรรม

บรรยายความรู้ ระยะเวลา 6 ชั่วโมง

ในวันเสาร์ที่ 18 มกราคม 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น. ในรูปแบบไฮบริด

 

โครงการอบรมนี้เหมาะสำหรับ
  • ผู้ที่มีความต้องการที่จะบูรณาการศาสตร์จิตวิทยาเพื่อการทํางาน/การเรียน/การดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ
  • ผู้ที่ทํางานร่วมกับบุคคลในอาชีพด้านจิตวิทยา และ
  • ผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการเห็นภาพรวมของศาสตร์จิตวิทยาด้วยมุมมองที่กระชับ

 

 

ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมโครงการจากคณะจิตวิทยา

โดยผู้เข้าร่วมแบบ on-site จะได้รับเกียรติบัตรแบบ Hard copy และผู้เข้าร่วมแบบ online จะได้รับเกียรติบัตรแบบ e-certificate ทางอีเมล

 

 

 

สําหรับผู้ที่เข้าร่วมแบบ On-Site ราคานี้รวมอาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารประกอบการอบรม และเกียรติบัตรเข้าร่วมโครงการ 

 

 

 

 

 

เงื่อนไขการลงทะเบียน

  1. กรุณาชำระค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานก่อนกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
  2. การส่งแบบฟอร์มลงทะเบียน จะต้องแนบหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย จึงจะถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์
  3. เมื่อผู้จัดงานได้ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียนให้ทราบทางอีเมลภายใน 3 วันทำการ
  4. บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว สามารถเข้าร่วมการอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
  5. ใบเสร็จรับเงินจะจัดส่งให้ทางอีเมลที่กรอกมาในแบบฟอร์มลงทะเบียน (กรุณาตรวจสอบอีเมลของท่านให้ถูกต้อง)
  6. เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ทุกกรณี

 

 

 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาทินี โทร. 02-218-1307 E-mail: wathinee.s@chula.ac.th

 

 

 


 

 

 

คำอธิบายเกี่ยวกับโครงการอบรมฯ

 

 

จิตวิทยาสำหรับสหวิทยาการ

 

โครงการอบรม “พื้นฐานและมุมมองทางจิตวิทยาสำหรับการร่วมมือข้ามศาสตร์ (Bridging Disciplines: Incorporate Psychology into Your Endeavor)” เหมาะสำหรับ

    1. ผู้ที่ศึกษา/ทำงานอยู่นอกศาสตร์จิตวิทยา แต่ต้องการที่จะสร้างสรรค์งานระหว่างศาสตร์ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบการประยุกต์ใช้จิตวิทยาด้วยตัวเอง หรืออยู่ในรูปแบบการร่วมมือกับบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา
    2. ผู้ที่ศึกษา/ทำงานด้านจิตวิทยา และอาจมีความจำเป็นที่จะต้องนำเสนอบทบาทของจิตวิทยาในการสร้างสรรค์งานระหว่างศาสตร์ และ
    3. บุคคลทั่วไปที่สนใจจิตวิทยา และต้องการที่จะเห็น “ภาพรวม” ของศาสตร์ด้วยมุมมองที่กระชับ

 

อุปสรรคสำคัญที่หลายคนสัมผัสได้เมื่อผนวกจิตวิทยาเข้ากับศาสตร์ของตนเองอาจอยู่ที่ความหลากหลายของจิตวิทยา ที่มีสาขา/แขนงจำนวนมาก มีทฤษฎี/แนวคิดจำนวนมาก มีลักษณะทางจิตวิทยาจำนวนมาก และ/หรือ มีเครื่องมือจำนวนมาก จนยากที่จะมั่นใจได้ว่า เมื่อตัดสินใจเลือก “จิตวิทยา” มาใช้แล้ว อย่างน้อยเราไม่ได้ตกหล่น (สิ่งที่จิตวิทยามีอยู่ แต่เราไม่รู้) หรือไม่ได้พิจารณาลักษณะสำคัญของสิ่งต่าง ๆ ข้างต้น (สิ่งที่จิตวิทยาให้ความสำคัญ แต่เราคิดว่าไม่สำคัญ) อย่างที่ควรจะเป็น

 

ด้วยเหตุนี้ โครงการอบรมนี้จึงประกอบไปด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

    1. ไวยากรณ์ (บางส่วน) ของจิตวิทยา (a [partial] grammar of psychology)
    2. การใช้งานจิตวิทยาผ่านมุมมอง “การรวมจิตวิทยาให้เป็นหนึ่ง” (unification of psychology) และ
    3. จิตวิทยาและการบูรณาการระหว่างศาสตร์

โดยเนื้อหาส่วนแรกจะเป็นการนำเสนอ “โครงสร้างพื้นฐาน” ของจิตวิทยาที่เป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่กระจัดกระจาย ซึ่งจะถูกนำมารวมกันในเนื้อหาส่วนที่สอง และเนื้อหาส่วนสุดท้ายจะพูดถึงบทบาทของโครงสร้างพื้นฐานและภาพรวม เพื่อใช้งานจิตวิทยาอย่างเหมาะสมสำหรับการทำงานระหว่างศาสตร์

 

ไวยากรณ์บางส่วนของจิตวิทยาจะพูดถึง “หน่วยโครงสร้าง” (building block) และ “ฟังก์ชั่น” (psychological function) ของลักษณะทางจิตวิทยา ที่จะประกอบไปเป็นลักษณะทางจิตวิทยาที่ซับซ้อนมากขึ้น เปรียบได้กับไวยากรณ์ทางภาษา ที่อาจมีคำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ ฯลฯ ซึ่งเราจะนำคำเหล่านี้มาร้อยเรียงกันเป็นประโยค ลักษณะทางจิตวิทยาก็เช่นเดียวกัน ที่จะมีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา เช่น อารมณ์เป็นหน่วยโครงสร้างทางจิตวิทยา และความฉลาดทางอารมณ์เป็นลักษณะทางจิตวิทยาที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งอาจมีอารมณ์เป็นหน่วยโครงสร้างหลัก (แน่นอนว่าจะประกอบเข้ากับหน่วยโครงสร้างอื่น ๆ) นอกจากนั้น นักจิตวิทยาบางกลุ่มได้พยายามที่จะจัดหมวดหมู่ฟังก์ชั่นของลักษณะทางจิตวิทยาต่าง ๆ (เพื่อตอบคำถามที่ว่า “เรามีสิ่งนี้ไว้เพื่ออะไร”) เป็น 4 ฟังก์ชั่นใหญ่ ๆ ซึ่งลักษณะทางจิตวิทยาที่ซับซ้อนอาจมีฟังก์ชั่นมากกว่า 1 ฟังก์ชั่น เช่น อารมณ์อาจมีฟังก์ชั่นหนึ่ง ๆ และความฉลาดทางอารมณ์อาจมีฟังก์ชั่นหลากหลายมากกว่า ในบางครั้ง เราอาจพบว่า ลักษณะทางจิตวิทยาที่มีชื่อเหมือนกัน กลับมีรายละเอียด (นิยาม) ที่ต่างกัน และลักษณะทางจิตวิทยาที่มีชื่อต่างกัน กลับมีรายละเอียดเหมือนกัน (ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า jingle-jangle fallacies [Lawson & Robins, 2021]) เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ ในศาสตร์จิตวิทยาเนื่องจากนักจิตวิทยาและนักวิชาการอาจมีมุมมองทางทฤษฎีที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ การทำความเข้าใจลักษณะทางจิตวิทยาจากหน่วยโครงสร้างและฟังก์ชั่นจึงมีความสำคัญสำหรับการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา

 

เนื่องจากศาสตร์จิตวิทยามีความหลากหลาย ในปัจจุบัน สมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริการะบุไว้ 56 สาขา/แขนง เช่น จิตวิทยาทั่วไป [Division 1] จิตวิทยาสุนทรียภาพ ความคิดสร้างสรรค์ และศิลปะ [Division 10] จิตวิทยาการฟื้นฟูสภาพ [Division 22] ฯลฯ การทำงานร่วมกันภายในศาสตร์และระหว่างศาสตร์จะติดขัดหากมุ่งเป้าไปที่ความเชี่ยวชาญที่อาจไม่ตรงกับความต้องการของงาน การพยายามทำความเข้าใจความเหมือนและความต่างของศาสตร์จิตวิทยา เพื่อก่อให้เกิดการใช้งานจิตวิทยาอย่างตรงเป้า จึงเป็นวัตถุประสงค์หลักของโครงการอบรมนี้ และภายในระยะเวลาสั้น ๆ (6 ชั่วโมง) เราจะใช้เนื้อหาจากนักจิตวิทยาและนักวิชาการที่พยายามจะ “รวมจิตวิทยาให้เป็นหนึ่ง” (unification of psychology) ถึงแม้ว่าการรวมจิตวิทยาให้เป็นหนึ่งอาจเป็น “ความท้าทายที่เป็นไปไม่ได้” จากมุมมองของนักจิตวิทยาบางกลุ่ม (เนื่องจากจิตวิทยาสาขา/แขนงต่าง ๆ อาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกันในหลายประเด็น ตั้งแต่มุมมองทางปรัชญา ไปจนถึงการประยุกต์ใช้ความรู้) และในตอนนี้ก็ยังไม่มีผู้ที่ทำได้สำเร็จ (ความท้าทายนี้มีวารสารทางวิชาการที่เฉพาะเจาะจง เช่น Integrative Psychological and Behavioral Science หรือแม้แต่ Review of General Psychology และ New Ideas of Psychology) แต่ในระหว่างที่นักจิตวิทยาและนักวิชาการร่วมกันเดินทางเพื่อวาดแผนที่ของศาสตร์จิตวิทยา เราก็พอที่จะได้เห็นภาพของศาสตร์ที่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ ภาพนี้อาจยังไม่สามารถพูดได้ว่า “ถูกต้อง” แต่จะมีประโยชน์อย่างแน่นอน โครงการอบรมนี้จะคัดสรรภาพที่เข้าใจง่ายและมีประโยชน์สำหรับการเริ่มต้นที่จะผนวกจิตวิทยาให้ตรงกับความต้องการระหว่างศาสตร์ที่หลากหลาย

 

สำหรับผู้ที่รู้จักทฤษฎี/แนวคิดทางจิตวิทยาอยู่แล้ว อาจสังเกตได้ว่า ลักษณะทางจิตวิทยาบางลักษณะอาจ ดูเหมือน มีความใกล้เคียงกัน เช่น ความเชื่อในความสามารถของตน (self-efficacy) และมโนทัศน์แห่งตน (self-concept) หรือทฤษฎี/แนวคิดทางจิตวิทยาอาจ ดูเหมือน มีความใกล้เคียงกัน เช่น ความคลาดเคลื่อนในการอนุมานสาเหตุ (fundamental attribution error) และความลำเอียงเข้าข้างตนเอง (self-serving bias) ซึ่งหลัก ๆ ก็เป็นการอนุมานสาเหตุเหมือนกัน เราอาจเห็นความแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้ได้อย่างชัดเจนมากขึ้นเมื่อพิจารณาทฤษฎี/แนวคิดเหล่านี้พร้อมกัน แต่ถ้าเราสามารถวิเคราะห์ลักษณะทางจิตวิทยาและทฤษฎี/แนวคิดทางจิตวิทยาด้วยความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ก็น่าจะช่วยให้เข้าใจปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า ก็น่าจะช่วยให้การทำงานระหว่างศาสตร์เป็นไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้นเช่นกัน โครงการอบรมนี้จึงไม่ได้นำเสนอทฤษฎี/แนวคิดทางจิตวิทยา (สิ่งเหล่านี้หาได้จากโครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยาฯ และโครงการอบรมความรู้จากสาขา/แขนงต่าง ๆ) แต่โครงการอบรมนี้จะนำเสนอ “โครงสร้างพื้นฐาน” ทางจิตวิทยา ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของลักษณะทางจิตวิทยาและทฤษฎี/แนวคิดทางจิตวิทยาที่มีอยู่ หากเปรียบได้กับการปรุงอาหาร ทฤษฎี/แนวคิดทางจิตวิทยาก็อาจเหมือนสูตรอาหาร ส่วนโครงสร้างพื้นฐานทางจิตวิทยาก็อาจเหมือนวัตถุดิบและกระบวนการปรุงอาหาร ถ้ารู้แต่สูตรอาหาร การดัดแปลงให้เข้ากับวัตถุประสงค์และบริบทต่าง ๆ อาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่ถ้ารู้วัตถุดิบและกระบวนการปรุงอาหารด้วย การดัดแปลงก็อาจทำได้ง่ายกว่า

 

และสุดท้าย เราจะขมวดเนื้อหาทั้งหมดเข้าด้วยกันในส่วนของ “จิตวิทยาและการบูรณาการณ์ระหว่างศาสตร์” โดยจะนำเสนอบทบาทของจิตวิทยาที่อาจแตกต่างกันระหว่างการประยุกต์ใช้ การร่วมมือ และการอำนวยความสะดวก ซึ่งน่าจะทำให้การทำงานระหว่างศาสตร์ตรงเป้าและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และจะเน้นที่การใช้งานจิตวิทยาเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable development goals) ที่จิตวิทยาอาจมีส่วนร่วมในหลากหลายเป้าหมาย แต่ก็ยากที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ได้หากปราศจากความร่วมมือระหว่างศาสตร์ โครงการอบรมจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 18 มกราคม 2568 เวลา 9:00-16:00 ที่คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (มีระบบออนไลน์)

 

 

รายการอ้างอิง

 

Lawson, K. M., & Robins, R. W. (2021). Sibling constructs: What are they, why do they matter, and how should you handle them? Personality and Social Psychology Review, 25, 344-366.

 

แสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 38 ปี แห่งการสถาปนาสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬา

 

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพิมพา จรัลรัตนกุล รองคณบดีคณะจิตวิทยา พร้อมด้วยคุณเวณิกา บวรสิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และคุณกษิดินทร์ บุญขำ บุคลากรคณะจิตวิทยา ร่วมแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนันท์ บุญยงมณีรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ และคณะผู้บริหาร เนื่องในโอกาสครบรอบ 38 ปี แห่งการสถาปนาสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุม ชั้น 11 อาคารวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมีและสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ

 

 

Announcement: High Achieving PhD Student Scholarship Guidelines, Fiscal Year 2025

 

Announcement

Faculty of Psychology, Chulalongkorn University

 

High Achieving PhD Student Scholarship Guidelines, Fiscal Year 2025

 

 

The Faculty of Psychology, Chulalongkorn University has allotted a budget for a scholarship for PhD students to attract applicants with high academic and research abilities, and create high-quality academic works and research with our faculty members.

In accordance to Section 34 of the Chulalongkorn University Statute 2008 and the approval of the 21/2024 Faculty of Psychology’s management committee meeting on 6 November 2024, the details of the scholarship are as follows.

 

 

1. 1. This announcement is called “Announcement Faculty of Psychology, Chulalongkorn University High Achieving PhD Student Scholarship Guidelines, Fiscal Year 2025”

 

 

2. 2. This announcement is in effect starting from the date of announcement.

 

 

3. Eligible Applicants

 

3.1 Educational qualification must be one of the following;

3.1.1 Completed a Bachelor’s degree or Master’s degree program OR

3.1.2 Currently studying in the final year of a Bachelor’s degree of Master’s degree program OR

3.1.3 A Master’s degree student of the Faculty of Psychology, Chulalongkorn University who has passed the PhD Qualification Exam and has been elevated to PhD level within the academic year of 2024.

 

3.2 Has a cumulative GPA of no less than 3.50 on the date of application and on graduation

 

3.3 Must have an English proficiency store of either 75 or above for CU-TEP OR 550 or above for TOEFL OR 6.5 or above for IELTS OR has graduated or is currently graduating from a program which uses English and the mode of instruction.

 

3.4 Applicants must have a dissertation proposal with no less than 1,000-1,500 words.

 

3.5 Applicants must have a faculty member at the Faculty of Psychology, Chulalongkorn University agree to be their academic advisor according to the form.

 

 

4. Eligible Recipients

 

4.1 Must have met the requirements stated in No 3. AND

4.2 Must have been given approval by the program committee that the applicant is applying to AND

4.3 Must have passed admission into a PhD program of the Faculty of Psychology in the academic year of 2025

 

 

5. Conditions of the Scholarship

 

5.1 Recipients who receive the scholarship before their dissertation proposal exam must act as an academic or research assistant of their academic advisor for 20 hours a week for the duration of the scholarship (The advisor must include the student’s name in their publications).

 

5.2 Recipients who receive the scholarship after their dissertation proposal exam must act as an academic or research assistant of their academic advisor for 10 hours a week and must have at least one research paper published or waiting to be published within 1 year after the date of graduation with the following requirements.

 

(1) (1) The research paper must be published in an international journal recognised by ISI/SCOPUS with a journal quartile score of 2 or higher according to the latest ranking by the Journal Citation Report – Clarivate Analytics (JCR) or Scimago Journal & country (SJR))

 

(2) In the published paper, the first author listed must be the scholarship recipient student, the academic advisor as the corresponding author, and stated as affiliated with the Faculty of Psychology, Chulalongkorn University.

 

5.3 Recipients must report their academic, dissertation, and research progress to the program committee via their academic advisor to receive their approval to continue receiving the scholarship in the next semester.

 

5.4 Recipients must report their scholarship in their acknowledgements section as follows

 

Acknowledgements in the dissertation must say “My sincere gratitude to the Faculty of Psychology, Chulalongkorn University for the scholarship which has benefitted and has been an important factor in helping me complete this research smoothly.”

 

Acknowledgements in any published works must say “This article is a part of a research regarding ……………………… which has been supported via scholarship by the Faculty of Psychology, Chulalongkorn University.”

 

 

6. Number of Scholarships and Duration

 

6.1 Three Scholarships will be allocated for students who have not yet passed their dissertation proposal exam and each program will receive 1 scholarship with a maximum duration of 4 semesters.

    • University Tuition Fee 35,000 Baht per semester
    • Program Fee 50,000 Baht per semester

Recipients can register for Graduate-level courses while studying in a Bachelor’s degree program without additional fees

 

6.2 Three Scholarships will be allocated for students who have passed their dissertation proposal exam and students can apply for the scholarship in the semester following the proposal exam with a maximum duration of 2 semesters.

    • University Tuition Fee 35,000 Baht per semester

 

 

7. Suspension of Scholarship

The Faculty of Psychology will suspend scholarships in accordance to the following.

 

7.1 Termination of student status

 

7.2 Academic dishonesty

 

7.3 During leave

 

7.4 Recipients are unable to meet the requirements of No. 5

 

7.5 The Faculty of Psychology has seen fit to suspend

 

 

8. Application Process

Students can contact the academic department, Faculty of Psychology from the date of the announcement until 28 February 2025

 

 

Announced on 8 November 2024

(Assistant Professor Dr. Natthasuda Taephant)

Dean of the Faculty of Psychology

 

 

Announcement – High Potential Doctoral Student Scholarship 2025

 

 


 

 

 

High Potential Doctoral Student Scholarship Application Form 2025

 

 


 

แสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 47 ปี แห่งการสถาปนาสถาบันภาษา จุฬาฯ

 

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา พร้อมด้วยบุคลากรคณะจิตวิทยา ร่วมแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.จิรดา วุฑฒยากร ผู้อำนวยการสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องในโอกาสครบรอบ 47 ปี แห่งการสถาปนาสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ อาคารเปรมบุรฉัตร

 

 

 

 

 

โครงการจิตวิทยา จุฬาฯ “ฮีลใจผู้ประสบภัย”

 

คณะจิตวิทยาเล็งเห็นถึงความสำคัญในช่วยเหลือเยียวยาทางด้านจิตใจให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยและอุบัติเหตุเพลิงไหม้รถบัสโดยสารคณะทัศนศึกษา ศูนย์สุขภาวะทางจิต จึงจัดให้มีโครงการจิตวิทยา จุฬาฯ “ฮีลใจผู้ประสบภัย” โดยมีรูปแบบการให้บริการดูแลจิตใจ
เบื้องต้น (Psychological First Aid) ผ่านสายด่วนโทรศัพท์ 02-2180810 ในช่วงวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ) จนถึงวันที่ 30 พ.ย. 2567 นี้ บริการฟรี บริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

 

 

 

ทั้งนี้นิสิตอาสาในโครงการได้ผ่านการอบรมจากคณาจารย์ของศูนย์สุขภาวะทางจิตไปเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2567

 

 

 

ก้าวข้ามความแตกต่าง: เติมเต็มช่องว่างระหว่างวัย (ตอนที่ 2/2)

 


 

 

อ่านตอนที่ 1/2 

 

 


 

 

ตัวอย่างสถานการณ์ช่องว่างระหว่างวัยในบ้านและในที่ทำงาน

 

ในครอบครัวที่มีสมาชิกหลากหลายยุค เช่น ปู่ย่าเป็น Gen Baby Boomers, พ่อแม่เป็น Gen X และลูกหลานเป็น Gen Millennials และ Gen Z ความท้าทายคือการปรับตัวเข้าหากัน เนื่องจากแต่ละรุ่นมีความสนใจ ความชอบ รูปแบบการสื่อสาร และค่านิยมที่ต่างกัน

 

 

 

บริษัทนวัตกรรมชุมชนคนเมือง เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี มีพนักงานประจำเต็มเวลา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่เพิ่งเรียนจบ และพนักงานบางส่วนที่ทำงานพาร์ทไทม์หลังเกษียณจากงานประจำ เมื่อไม่นานมานี้ บริษัทได้เปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่หลายตัว โดยมุ่งหวังสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพชีวิตของชุมชน

 

 

 

หัวใจ 2 ข้อในการ “เติมเต็มช่องว่างระหว่างวัย”

 

ข้อแรก ลดช่องว่างด้วยการสื่อสารที่สร้างสรรค์

  • หลีกเลี่ยงการกระแนะกระแหนหรือแซะกัน : พยายามลดคำพูดที่อาจสร้างบรรยากาศเชิงลบ แทนที่จะวิจารณ์หรือเหน็บแนมกัน
  • เปลี่ยนมุมมองมาเป็นการแบ่งปันและรับฟัง : ส่งเสริมการแบ่งปันประสบการณ์ ความคิด และฟังกันอย่างตั้งใจ ให้แต่ละคนมีพื้นที่แสดงออกและเรียนรู้จากกัน

 

ข้อที่สอง เติมเต็มความแตกต่างด้วยกิจกรรมร่วมกัน

  • ทำกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ : หากการพูดคุยกันยังไม่คุ้นเคย ลองหากิจกรรมที่ทำด้วยกัน เช่น เดินเลือกซื้อของ ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร หรือออกกำลังกายร่วมกัน ซึ่งช่วยเชื่อมโยงกันผ่านการทำสิ่งสร้างสรรค์และการลงมือทำไปพร้อมกัน
  • ใช้เวลาให้กันอย่างสม่ำเสมอ : ไม่จำเป็นต้องนาน แต่การใช้เวลาคุณภาพร่วมกันและอัปเดตชีวิตกันสั้นๆ ช่วยให้แต่ละฝ่ายรู้สึกผูกพันต่อกัน
  • สร้างพื้นที่หรือหาเป้าหมายร่วมกัน : ค้นหาสิ่งที่ทุกคนให้คุณค่าร่วมกัน เช่น การทำแปลงผักสวนรวมหลายเจนที่แต่ละวัยสามารถร่วมปลูกและดูแล หรือเลี้ยงสัตว์ร่วมกัน เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้สมาชิกในบ้านรู้สึกเชื่อมโยงและรับผิดชอบต่อสิ่งเดียวกัน

 

 

ตัวอย่าง การเติมเต็มความแตกต่างในสถานการณ์ช่องว่างระหว่างวัยในบ้านและที่ทำงาน

 

 

 

 

กฎ Platinum 3 ข้อ สำหรับ เตือนใจ เชื่อมใจคนต่างยุคกัน

 

  • ข้อแรก : เปิดใจ – ไม่ว่ารุ่นไหนหรือวัยไหน ทุกคนต่างมีความสามารถและความถนัดในแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตน การแก้ปัญหาเป็นหน้าที่ของทุกคน
  • ข้อที่สอง : ปิดช่องว่างระหว่างวัย – ควรมองหาสิ่งที่เรามีร่วมกันเพื่อสร้างความเข้าใจและความเชื่อมโยงระหว่างกัน
  • ข้อสุดท้าย : หลีกเลี่ยงความคาดหวังเกินจริง – ควรรักษาความสม่ำเสมอในการสื่อสารและการทำกิจกรรมร่วมกันโดยไม่ตั้งความหวังที่สูงเกินไป

 

 

 

 

 

ขอบคุณทุกท่านที่เห็นความสำคัญของ “การลดความแตกต่างและเติมเต็มช่องว่างระหว่างรุ่นวัย” สิ่งนี้จะช่วยลดภาพเหมารวม (stereotypes) ของแต่ละรุ่น ทำให้เราเห็นคุณค่าในความหลากหลาย และส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนวิธีการอยู่ร่วมกันในสังคม การเชื่อมโยงนี้ช่วยเสริมความยืดหยุ่นทางใจ เพิ่มความเข้าใจ รู้ทันโลก รู้จักคนรอบข้าง อีกทั้งเป็นการกระตุ้นความคิด ลดอารมณ์ทางลบ และช่วยรักษาทักษะทางสังคมในทุกช่วงวัย

 

 

 


 

 

บทความโดย

ศาสตราจารย์ ดร.อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
ผู้อำนวยการหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยา
ประธานแขนงวิชาการวิจัยจิตวิทยาประยุกต์
และอาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ก้าวข้ามความแตกต่าง: เติมเต็มช่องว่างระหว่างวัย (ตอนที่ 1/2)

 

คนแต่ละยุคซึมซับประสบการณ์และค่านิยมทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมที่ต่างกัน จึงพัฒนามุมมอง แนวคิด และค่านิยมเฉพาะตัวที่สะท้อนยุคสมัยของตนเอง ทำให้พวกเขามีลักษณะและมุมมองร่วมกันมากกว่าที่จะคล้ายคลึงกับคนรุ่นก่อน สิ่งนี้เป็นรากฐานของ “ช่องว่างระหว่างวัย” หรือ generation gap คาร์ล มันไฮม์ (Karl Mannheim) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน เป็นหนึ่งในคนแรก ๆ ที่อธิบายปรากฏการณ์นี้ โดยเขาได้พัฒนา “ทฤษฎีรุ่นวัย” (Theory of Generations) ในผลงาน “The Problem of Generations” ที่ตีพิมพ์ในปี 1928

 

 

ช่องว่างระหว่างวัย — ความแตกต่างที่เกิดจาก “ขอบเขตของอายุ” (age boundaries)

 

เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า คนที่เกิดในยุคเดียวกันมักมีมุมมองและให้ความสำคัญต่อสิ่งต่าง ๆ ในทิศทางคล้ายคลึงกัน การเป็นส่วนหนึ่งของยุคสมัยหนึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ มีข้อสังเกตว่า:

  • คนแต่ละยุคได้ซึมซับและสะสมประสบการณ์เฉพาะของยุคสมัยของตนเอง
  • คนแต่ละยุคมีลักษณะร่วมและความคล้ายคลึงกันกับคนในยุคเดียวกันมากกว่าที่จะเหมือนกับคนในรุ่นพ่อแม่

 

 

ถอดรหัสลักษณะเฉพาะของคนแต่ละยุคในสังคมปัจจุบัน

 

 

 

กลุ่มคนตามช่วงอายุ

  • ยุคปู่ย่าตายาย หรือ Silent Generation คนที่เกิดปี พ.ศ. 2468 – 2485 อายุ 80 ปี ขึ้นไป
  • ยุคลุง ป้า พ่อและแม่ หรือ Baby Boomers คนที่เกิดปี พ.ศ 2489 – 2507 อายุ 58-76 ปี
  • ยุค พ่อและแม่ น้า อา Generation X คนที่เกิดปี พ.ศ. 2508 – 2522 อายุ 43-57 ปี
  • ยุค น้า อา พี่ น้อง Generation Y คนที่เกิดปี พ.ศ. 2523 – 2540 อายุ 25-42 ปี
  • ยุค พี่ น้อง Generation Z คนที่เกิดปี พ.ศ 2539 ปี อายุต่ำกว่า 25 ปี
  • ยุค หลาน เหลน Generation Alpha คนที่เกิดปี พ.ศ. 2553 ปี อายุต่ำกว่า 12 ปี

 

ลักษณะเฉพาะของกลุ่มคนแต่ละยุค โดยแบ่งตามคุณลักษณะเด่น และการใช้เทคโนโลยี อาจแบ่งได้ 3 กลุ่ม ดังนี้

 

 

 

 

ช่องว่างระหว่างวัย มีแนวโน้มเป็นภัยเงียบ อาจก่อให้เกิดปัญหา เมื่อคนเรา…

 

  1. ขาดความเข้าใจธรรมชาติของแต่ละวัย ทำให้เกิดการคาดหวังที่เกินจริง
    • เมื่อคนต่างวัยให้ความสำคัญกับสิ่งต่างๆ ไม่เหมือนกัน จึงเกิดความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับพฤติกรรมและความเชื่อที่แต่ละวัย “ควรจะมี”
    • คนรุ่นสร้างเนื้อสร้างตัวหลังสงคราม (รุ่นพ่อแม่หรือปู่ย่าตายาย) มองว่าควรทำงานที่เดียวตลอดชีวิตและมีความภักดี ในขณะที่คนยุคใหม่หรือเจนวาย (Gen Y) มองหาความท้าทายและโอกาสจากหลากหลายองค์กร ไม่ยึดติดกับที่ใดที่หนึ่ง
  2. ให้คุณค่ากับความเป็นปัจเจกบุคคลสูง ทำให้คนมองต่างกันได้ง่ายขึ้น
  3. ใช้ชีวิตที่เร่งรีบ มีธุระเยอะ ไม่มีเวลาให้กันเท่าที่ควร
  4. อยู่ในครอบครัว สถานที่ทำงาน ชุมชน ที่มีความหลากหลายของคนต่างรุ่นวัย (คนมักเข้าใจคนรุ่นใกล้ตัวและเห็นต่างกับคนรุ่นที่ห่างจากตน)

 

 

ปัญหาคือ พอคุยกันไม่ได้ เลยไม่เข้าหากัน หนีหน้ากันเพียงเพราะไม่อยากมีปัญหา ไม่อยากโต้เถียงกัน ไม่มีกิจกรรมร่วมกัน ช่องว่างยิ่งห่างขึ้น

 

 

 


 

 

อ่านต่อตอนที่ 2/2

 

 


 

 

บทความโดย

ศาสตราจารย์ ดร.อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
ผู้อำนวยการหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยา
ประธานแขนงวิชาการวิจัยจิตวิทยาประยุกต์
และอาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การประชุมรับฟังความเห็นเพื่อการจัดทำคู่มือการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตและจิตสังคม สำหรับผู้ให้การคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

 

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567 คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับร่วมกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration; IOM) ในการจัดการประชุมรับฟังความเห็นเพื่อการจัดทำคู่มือการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตและจิตสังคม สำหรับผู้ให้การคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ณ Psyche Space ชั้น 3 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

การประชุมนี้เป็นการนำเสนอเนื่อหาของคู่มือการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตและจิตสังคม สำหรับผู้ให้การคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นผลผลิตจากโครงการวิจัย เรื่อง “Mapping of Available MHPSS services for Vulnerable Migrants in Thailand and Development of a Handbook for Shelter Staff in Designing and Delivering MHPSS Support for Victims of Trafficking during the NRM Reflection Period” โดยคู่มือดังกล่าวมีเนื้อหาประกอบด้วยหลักการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการให้บริการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตและจิตสังคมแก่บุคคลเปราะบางในกระบวนการค้ามนุษย์ ตลอดจนการดูแลจัดการบาดแผลทางจิตใจแบบทุติยภูมิและเน้นย้ำถึงความสำคัญของการดูแลตนเองของผู้ปฏิบัติงาน พร้อมนำเสนอตัวอย่างการนำทฤษฎีไปใช้ในทางปฏิบัติ

 

การประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริเดช สุชีวะ รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณซัสเกีย ก๊อก หัวหน้าฝ่ายคุ้มครอง องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน มาเป็นประธานเปิดการประชุม โดยมีตัวแทนจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ตัวแทนจากสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ตัวแทนจากบ้านพักเด็กและครอบครัว และตัวแทนจากองค์กรที่มีประสบการณ์ในการทำงานด้านสุขภาพจิตและจิตสังคมในบริบทต่าง ๆ มาร่วมรับฟังเนื้อหาและแสดงความเห็นเพื่อใช้ในการพัฒนาคู่มือให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และผู้ปฏิบัติงานต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

อัลบั้มภาพ 

 

 

แสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 26 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

วันที่ 30 ตุลาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา พร้อมด้วยคุณวีระยุทธ กุลสุวิพลชัย ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารคณะจิตวิทยา ร่วมแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา และผู้บริหาร เนื่องในโอกาสครบรอบ 26 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย