News & Events

งาน Undergraduate Psychology Research Symposium (UPRES 2025)

 

หลักสูตรระดับปริญญาตรีคณะจิตวิทยา ทั้งหลักสูตรไทยและนานาชาติ (JIPP) จัดงานนำเสนอผลงานวิจัย (Senoir Project) ของนิสิตชั้นปีที่ 4  คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ชื่องาน Undergraduate Psychology Research Symposium 2025 (UPRES 2025) ณ ห้องอบรม 1 ชั้น 4 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา เวลา 9.00 – 13.30 น. ในงานนี้มีนิสิต คณาจารย์ นักจิตวิทยา และผู้ที่สนใจงานวิจัยทางจิตวิทยาเข้าร่วมรับชมรับฟัง และแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับงานวิจัยกันอย่างคึกคัก

 

 

 

ภาพบรรยากาศ

 

 

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการทางจิตวิทยา หัวข้อ จิตวิทยาการจัดการเวลา (Time Management)

 

โครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “จิตวิทยาการจัดการเวลา (Time Management)”

 

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ จิตวิทยาการจัดการเวลา (Time Management) ในวันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน 2568 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ชั้น 4 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิปัทม์ พิชญโยธิน ประธานแขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร

 

 

 

 

ในโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว เต็มไปด้วยภาระหน้าที่และความคาดหวังที่หลากหลาย การบริหารจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพจึงมิได้เป็นเพียงทักษะเสริม แต่กลายเป็นรากฐานสำคัญของการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและประสบความสำเร็จ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการทางจิตวิทยา หัวข้อ “จิตวิทยาการจัดการเวลา” จึงถูกออกแบบมาบนหลักการที่ตระหนักถึงความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งระหว่างการบริหารเวลาและสภาวะทางจิตใจ โดยมุ่งหวังที่จะเสริมสร้างความเข้าใจและพัฒนาทักษะที่ยั่งยืนในการจัดการเวลาอย่างชาญฉลาด การจัดการเวลาจึงมิใช่สูตรสำเร็จที่ใช้ได้กับทุกคน หากแต่เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการเรียนรู้และปรับประยุกต์ให้เข้ากับบริบทชีวิตและรูปแบบการทำงานของแต่ละคน การอบรมจึงมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจในความหลากหลายของวิธีการจัดการเวลา และส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถค้นพบและพัฒนาแนวทางการจัดการเวลาที่เป็นเอกลักษณ์และเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด ควบคู่ไปกับการให้ความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยา โครงการยังให้ความสำคัญกับการฝึกฝนทักษะและเทคนิคที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวันและในการทำงาน เพื่อให้การเรียนรู้ไม่ได้หยุดอยู่แค่ในห้องอบรม แต่สามารถต่อยอดเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เห็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการทางจิตวิทยา หัวข้อ จิตวิทยาการจัดการเวลา (Time Management) จึงเป็นการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการเวลาในมิติทางจิตวิทยา กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมการใช้เวลาไปในทิศทางที่สร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจในกลไกทางจิตวิทยาที่อยู่เบื้องหลังการจัดการเวลา และสามารถนำทักษะที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้อย่างเหมาะสม ผลลัพธ์ที่ตามมาจึงมิได้จำกัดอยู่เพียงแค่การเพิ่มผลผลิตหรือประสิทธิภาพในการทำงานเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่การลดความเครียด การเพิ่มความพึงพอใจในชีวิต และการมีสุขภาวะที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญของการเติบโตและความสำเร็จในทุกด้านของชีวิต

 

 

วิธีการฝึกอบรม
  • การบรรยาย ระยะเวลา 3 ชั่วโมง เวลา 9.00 – 12.00 น.
    วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน 2568
  • ณ ชั้น 4 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

อัตราค่าลงทะเบียน
  • บุคคลทั่วไป   2,000 บาท

 

ท่านที่เข้ารับการอบรมจะได้รับเกียรติบัตร Certificate of Attendance

 

 

เงื่อนไขการลงทะเบียน
  1. กรุณาชำระค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานก่อนกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
    หากลิงค์รับสมัครยังคง activate ท่านสามารถดำเนินการสมัครและชำระค่าลงทะเบียนได้เลย
  2. การส่งแบบฟอร์มลงทะเบียน จะต้องแนบหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย จึงจะถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์
  3. เมื่อผู้จัดงานได้ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียนให้ทราบภายใน 3 วันทำการ
  4. บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว สามารถเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
  5. ใบเสร็จรับเงินจะจัดส่งให้ทางอีเมลที่ท่านระบุในฟอร์มการรับสมัคร
  6. เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ทุกกรณี

 

 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาทินี E-mail: wathinee.s@chula.ac.th

 

 

แสดงความยินดีกับ นางสาวปัฌรวี ชยวรารักษ์ นักกีฬาระบำใต้น้ำ ที่ได้รับเหรียญรางวัลในการแข่งขันรายการ Open National Championship of Czech Republic

 

คณะจิตวิทยาขอแสดงความยินดีกับ นางสาวปัฌรวี ชยวรารักษ์ นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักกีฬาระบำใต้น้ำจากทีมสมาคมกีฬาทางน้ำแห่งประเทศไทย ที่ได้เข้าร่วมแข่งขันในรายการ Open National Championship of Czech Republic ระหว่างวันที่ 25 – 27 เมษายน 2568 ณ เมือง เบอร์โน สาธารณรัฐเช็ก (Brno, Czech Republic)

 

มีผลงานดังต่อไปนี้

  • 1 เหรียญทอง จากประเภท Team Acrobatic ด้วยคะแนน 178.6221
  • 1 เหรียญเงิน จากประเภท Woman Solo Free ด้วยคะแนน 143.5625
  • 1 เหรียญทองแดง จากประเภท Woman Solo Technical ด้วยคะแนน 184.5167

 

 

 

 

 

 

กิจกรรม จุฬาฯ ปิดสยาม ยินดีต้อนรับแรงงาน 1 พ.ค. 2568

 

วันที่ 1 พ.ค. 2568 คณะจิตวิทยาร่วมออกบูธกิจกรรมในงาน May Day “จุฬาฯ ห่วงใย แรงงานไทยแข็งแรง” ณ Siam Square Walking Street

ศูนย์จิตวิทยาเพื่อประสิทธิภาพองค์กร Psych-CEO และ ศูนย์สุขภาวะทางจิต (Center for Psychological Wellness) คณะจิตวิทยา จุฬาฯ นำแบบสำรวจสุขภาพจิต (ความเครียด-ความวิตกกังวล-ความเศร้า) และบอร์ดสำรวจปัจจัยความเครียดในการทำงาน ไปให้ผู้เข้าร่วมงานได้ทำกัน พร้อมมีนักจิตวิทยาประจำบูธคอยพูดคุยและให้ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับแนวทางการลดความเครียดอีกด้วย

 

 

 

East-West Talk On “Confucianism, Taoism, Buddhism and Mental Health”

 

East-West Talk On

“Confucianism, Taoism, Buddhism and Mental Health”

 

Join Assoc. Prof. Lixian Cui, Ph.D. for an insightful discussion on Chinese cultural perspectives and their connection to mental health, including an open exchange on related cultural themes.

The session will be moderated by Asst. Prof. Nipat Pichayayothin, Ph.D.

 

  • Tuesday, May 27, 2025
  • 12:00–13:00 (Bangkok Time)
  • Online via Zoom

 

 

 

Session will be conducted in English

 

This event is free of charge. Please fill out the registration form here: https://forms.gle/JyAFKVq9E54ReVHN7

 

For more information please contact: psy.research@chula.ac.th (The Research Affairs, Faculty of Psychology, CU)

 

Workshop Series หัวข้อ “Social and Emotional Development Research and Intervention”

 

ขอเชิญนิสิต คณาจารย์ และผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วม Workshop Series หัวข้อ “Social and Emotional Development Research and  Intervention” โดย Assoc. Prof. Lixian Cui, Ph.D. จาก NYU Shanghai

 

วันที่ 26 – 28 พฤษภาคม 2568 เวลา 18.00 – 21.00 น.

ณ ห้อง 613 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ Online ผ่าน Zoom

 

 

 

 


  • Session 1 (26 พ.ค. 2568)

Child and Adolescent Social and Emotional Development: Antecedents and Implications

การพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมในวัยเด็กและวัยรุ่น ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และผลทางพัฒนาการ


  • Session 2 (27 พ.ค. 2568)

Conducting Youth Social and Emotional Development Research: Study Designs

ระเบียบวิธีวิจัย และการออกแบบงานวิจัยด้านพัฒนาการในวัยเด็กและวัยรุ่น


  • Session 3 (28 พ.ค. 2568)

Assessing Parent-Child/Youth Affect Dynamics: Behaviors and Psychophysiology

การศึกษาความสัมพันธ์ทางอารมณ์ พฤติกรรม และตัวชี้วัดทางกายภาพระหว่างพ่อแม่และลูกในการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน


 

 

การบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ

ผู้เข้าร่วมครบทั้ง 3 ครั้ง (Online และ/หรือ On-site) จะได้รับใบประกาศนียบัตรการเข้าร่วมอบรม

 

ลงทะเบียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย https://forms.gle/YwSppinZJzdyBFkw8

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:

The Research Affairs, Faculty of Psychology, CU E-mail: psy.research@chula.ac.th

 

โครงการอบรมความรู้สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางจิตวิทยา ประจำปี 2567

 

โครงการอบรมความรู้สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางจิตวิทยา ประจำปี 2567

 

 

 

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วม โครงการอบรมความรู้สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางจิตวิทยา ประจำปี 2567 โดย อบรมผ่านโปรแกรม ZOOM ระหว่างวันที่ 1–15 กรกฎาคม 2567 เวลา 18.00 – 21.00 น. รวมใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรมทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง

 

อบรมและบรรยายโดย รองศาสตราจารย์ สักกพัฒน์ งามเอก Faculty of Psychology, Chulalongkorn University

 

โครงการอบรมมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านสถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางจิตวิทยาให้แก่ผู้สนใจทั่วไป และเป็นการปรับพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในทฤษฏีทางสถิติที่ใช้ในการศึกษาวิจัยทางจิตวิทยา ให้แก่ผู้ที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านสถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางจิตวิทยาให้แก่ผู้สนใจทั่วไป

 

เนื้อหาการอบรมจะมุ่งเน้นไปที่ พื้นฐานความรู้ด้านสถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย และการนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ โดยคาดหวังว่าผู้ที่เข้ารับการอบรมจะมีความรู้ และความเข้าใจทฤษฎีทางสถิติศาสตร์เบื้องต้น โดยเฉพาะเนื้อหาในด้านสถิติเบื้องต้นสำหรับงานวิจัย ครอบคลุมถึงการวิเคราะห์อิทธิพลส่งผ่านและอิทธิพลกำกับ เพื่อนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ต่อยอดในการทำความเข้าใจ และสร้างผลงานวิจัยทางด้านจิตวิทยาในเชิงลึกต่อไปได้

 

 

หลังเสร็จสิ้นการอบรมผู้เข้าร่วมจะได้รับ เกียรติบัตรรับรองการเข้าร่วมอบรม (E-certificate) โดยจะต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง (15 ชั่วโมง)

 

 

หัวข้อการฝึกอบรม

 

 

 

หลังจากเสร็จสิ้นการอบรมแต่ละครั้ง ทางผู้จัดโครงการจะอัพโหลดไฟล์วิดีโอการอบรมให้ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถเข้ามาดูย้อนหลังได้จนถึงวันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม 2567 เวลา 23.59 น

 

 

อัตราค่าลงทะเบียน

 

 

*บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว

มีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ*

 

 

 

เงื่อนไขการลงทะเบียน

  1. กรุณาชำระค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานก่อนกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
  2. การส่งแบบฟอร์มลงทะเบียน จะต้องแนบหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย จึงจะถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์
  3. เมื่อผู้จัดงานได้ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียนให้ทราบภายใน 3 วัน
  4. บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว สามารถเข้าร่วมการอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
  5. ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์จะจัดส่งให้ทางอีเมล กรุณาตรวจสอบข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ และอีเมล
  6. เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ทุกกรณี

     

    —————————————– ปิดรับสมัครแล้ว ———————————————-

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาทินี สนลอย โทร. 02-218-1307 หรือ email: Wathinee.s@chula.ac.th

 

โครงการอบรมความรู้พื้นฐานจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ประจำปี 2566

 

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วม “โครงการอบรมความรู้พื้นฐานจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ประจำปี 2566” ซึ่งจะจัดอบรมผ่านโปรแกรม ZOOM ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน – 24 กรกฎาคม 2566 (วันจันทร์ และวันอังคาร เวลา 18.00 – 21.00 น.) รวมใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรมและสอบวัดผลทั้งสิ้น 27 ชั่วโมง โดย คณาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร

 

 

 

โครงการอบรมมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านจิตวิทยาให้แก่บุคคลภายนอก และเตรียมความพร้อมทางจิตวิทยาให้แก่ผู้สมัครที่จะเข้ามาศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาอุตสาหกรรมและองค์การ ได้มีพื้นฐานทางจิตวิทยาที่จำเป็น เพื่อเตรียมความพร้อมและนำไปต่อยอดในการศึกษารายวิชาที่กำหนดในหลักสูตรในระดับที่สูงขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เนื้อหาการอบรมจะเป็นการปูพื้นฐานให้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาศาสตร์ทางด้านจิตวิทยาในบริบทการทำงานและบุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ ได้เรียนรู้และเข้าใจกับคําว่าจิตวิทยา I/O และสร้างความเข้าใจในประเด็นด้านอุตสาหกรรม เช่น กระบวกการคัดเลือก วัดและประเมิน และประเด็นด้านองค์การ เช่น ความพึงพอใจและผลการปฏิบัติงานของบุคลากร แรงจูงใจในการทำงาน เป็นต้น รวมทั้งประเด็นด้านการเรียนรู้และสุขภาวะทางจิตใจของบุคลากรในที่ทำงาน รวมถึงการคาดหวังว่าผู้ที่ผ่านการอบรมไปนั้น จะสามารถนําศาสตร์ทางจิตวิทยาไปประยุกต์พัฒนาบุคลากรและแก้ปัญหาในที่ทำงานเพื่อให้องค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

 

 

 

หลังจากเสร็จสิ้นการอบรมแต่ละครั้ง ทางผู้จัดโครงการจะอัพโหลดไฟล์วิดีโอการอบรมให้ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถเข้ามาดูย้อนหลังได้จนถึงวันที่ 7 สิงหาคม 2566

 

ผู้ที่สอบผ่านเกณฑ์การวัดผลของโครงการจะได้รับวุฒิบัตรเพื่อใช้ประกอบการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาแขนงวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะจิตวิทยา ได้

 

 

เกณฑ์การวัดผล

  • ต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 7 ครั้ง (21 ชั่วโมง)
  • สอบวัดผลข้อเขียน โดยผ่านเกณฑ์การประเมิน 70% ขึ้นไป

 

อัตราค่าลงทะเบียน

 

 

บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว

มีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ

 

 

 

เงื่อนไขการลงทะเบียน

 

  1. กรุณาชำระค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานก่อนกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
  2. การส่งแบบฟอร์มลงทะเบียน จะต้องแนบหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย จึงจะถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์
  3. เมื่อผู้จัดงานได้ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียนให้ทราบภายใน 3 วัน
  4. บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว สามารถเข้าร่วมการอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
  5. ใบเสร็จรับเงินจะจัดส่งให้ทางไปรษณีย์
  6. เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ทุกกรณี

 

 

—————————————– ปิดรับสมัครแล้ว ———————————————-

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาทินี สนลอย

โทร. 02-218-1307 หรือ email: Wathinee.s@chula.ac.th

โครงการอบรมความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาพัฒนาการ ประจำปี 2567

 

โครงการอบรมความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาพัฒนาการ ประจำปี 2567

 

 

 

Faculty of Psychology, Chulalongkorn University ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วม โครงการอบรมความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาพัฒนาการ ประจำปี 2567 โดยอบรมผ่านโปรแกรม ZOOM ระหว่างวันที่ 17 – 25 มิถุนายน 2567 เวลา 18.00 – 21.00 น. และสอบวัดผล ในวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2567 เวลา 18.00 – 21.00 น. รวมใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรมและสอบวัดผลทั้งสิ้น 24 ชั่วโมง อบรมและบรรยายโดย คณาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

โครงการอบรมมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการให้แก่ผู้สนใจทั่วไป และเป็นการปรับพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในทฤษฏีและการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาพัฒนาการให้แก่ผู้ที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการให้แก่ผู้สนใจทั่วไป

 

เนื้อหาการอบรมจะมุ่งเน้นไปที่ พื้นฐานความรู้ด้านจิตวิทยาพัฒนาการ และความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่าง ๆ ในแต่ละช่วงวัย โดยคาดหวังว่าผู้ที่เข้ารับการอบรมจะมีความรู้ และความเข้าใจทฤษฎีทางจิตวิทยาพัฒนาการ รวมถึงเนื้อหาในด้านจิตวิทยาพัฒนาการเบื้องต้น เพื่อนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ต่อยอดในการทำความเข้าใจ และสร้างผลงานวิจัยทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการในเชิงลึกต่อไปได้

 

 

ผู้เข้าอบรมจะได้รับ วุฒิบัตรเพื่อใช้ประกอบการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา ได้ผู้เข้าอบรมจะต้องผ่านเกณฑ์การวัดผลดังนี้

  • ต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 6 ครั้ง (18 ชั่วโมง)
  • สอบวัดผลข้อเขียน โดยผ่านเกณฑ์การประเมิน 70% ขึ้นไป

 

 

หัวข้อการฝึกอบรม

 

 

 

หลังจากเสร็จสิ้นการอบรมแต่ละครั้ง ทางผู้จัดโครงการจะอัพโหลดไฟล์วิดีโอการอบรมให้ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถเข้ามาดูย้อนหลังได้จนถึงวันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2567 (ลิงค์สำหรับดูย้อนหลังจะถูกจัดส่งทางอีเมล)

 

 

อัตราค่าลงทะเบียน

 

 

*บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว
มีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ*

 

 

เงื่อนไขการลงทะเบียน

  1. กรุณาชำระค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานก่อนกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
  2. การส่งแบบฟอร์มลงทะเบียน จะต้องแนบหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย จึงจะถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์
  3. เมื่อผู้จัดงานได้ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียนให้ทราบภายใน 3 วัน
  4. บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว สามารถเข้าร่วมการอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
  5. ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์จะจัดส่งให้อีเมล กรุณาตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ และอีเมล
  6. เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ทุกกรณี

 

 

—————————————– ปิดรับสมัครแล้ว ———————————————-

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาทินี สนลอยโทร. 02-218-1307 หรือ email: Wathinee.s@chula.ac.th

Social So Chill – Monthly Live Talk 2025

 

Social So Chill – Monthly Live Talk

 

 

2566


 

 

Ep.01 – รัก..ออกแบบได้

วิทยากร: ผศ.ดร. หยกฟ้า อิศรานนท์ และคุณวันทิพย์ ชวลีมาภรณ์ นิสิตปริญญาเอก

 

Ep.02 – ปรับงานอย่างไร… ให้ชีวิตสมดุล

วิทยากร: ผศ. ดร.ประพิมพา จรัลรัตนกุล และคุณปณต ศรีสินทรัพย์ นิสิตปริญญาเอก

 

Ep.03 – จิตวิทยาสังคมกับการเลือกตั้ง

วิทยากร: อ. ดร.ภัคนันท์ จิตต์ธรรม และคุณเมธพนธ์ เตชะบุญเกียรติ นิสิตปริญญาตรี

 

Ep.04 – Locus of control อำนาจควบคุมตนสำคัญอย่างไร

วิทยากร: ผศ. ดร.อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช และคุณภรัณยู โรจนสโรช นิสิตปริญญาโท

 

Ep.05 – จูงใจคนให้ทำเพื่อสิงแวดล้อมยังไงดี

วิทยากร: ผศ. ดร.วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์ และคุณพีรยา พูลหิรัญ นิสิตปริญญาโท

 

Ep.06 – Growth mindset ในการเรียนและการทำงาน

วิทยากร: ผศ. ดร.ทิพย์นภา หวนสุริยา และ อ. ดร.ศุภณัฐ ศรีอุทัยสุข

 

Ep.07 – Cognitive bias อคติทางความคิดในการมองโลก…ของเราทุกคน

วิทยากร: อ. ดร.กฤษณ์ อริยะพุทธิพงศ์

 

EP.08 – ใช้ social media อย่างไรให้รู้ทัน

วิทยากร: ผศ. ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์

 

EP.09 – Burnout contagion ภาวะหมดไฟแพร่ระบาดได้หรือไม่?

วิทยากร: ผศ. ดร.ประพิมพา จรัลรัตนกุล

 

EP.10 – การทำความผิดในมุมจิตวิทยาสังคม

วิทยากร – อ. ดร.ภัคนันท์ จิตต์ธรรม และ คุณภัทรพงศ์ สุทธิรัตน์