News & Events

The Joint International Symposium on “Health and Well-Being” 2022

 

On August 23-24, 2022, faculty members and graduate students, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University participated in the poster presentation and oral presentation at the Joint International Symposium on “Health and Well-Being” at the Sendai International Center in Sendai, Miyagi, Japan.

 

The event was held during 22-25 August 2022 with cooperation between the​ Department of Psychology, ​Graduate school of Arts and Letters, ​Tohoku University​ and the Faculty of Psychology, Chulalongkorn University.

 

https://jasts-sendai56.com/tucujis.html

 

The Master of Ceremony:

  • Prof. Tsuneyuki Abe. Vice Dean, School of Arts and Letters, TU
  • Asst. Prof. Nattasuda Taephant. Dean, Faculty of Psychology, CU

Supported by the 56th Annual Meeting of the Japan Association Studying Taste and Smell (JASTS), ans Ajinimoto Co. LTD.

 

 


Research Presentation


 

23rd Aug 2022, 15:00 ~ 16:00 at Main Hall

Symposium in JASTS Meeting (Eating Behavior in Humans)

  • Food consumption of the Bangkok residents: Preliminary findings from WELL Thailand project (Nipat Pichayayothin)
  • Emotional Eating and Weight Loss Self-efficacy: The Effects of Cognitive Behavioral Group Therapy (Kullaya Pisitsungkagarn)

 

อาจเป็นรูปภาพของ 5 คน, ผู้คนกำลังยืน และ สถานที่ในร่ม อาจเป็นรูปภาพของ กลางแจ้ง
อาจเป็นรูปภาพของ 3 คน อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ข้อความพูดว่า
อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ข้อความพูดว่า อาจเป็นรูปภาพของ 5 คน และ ผู้คนกำลังยืน

 

 

24th Aug 2022, 11:15 – 17:00

Poster session at Tachibana Conference Hall

  • Exploring physiological needs for comfort food preference across gender among Thai university students (Chayanit Trakulpipat)
  • Development of psychological capital questionnaire among flight attendants of the Thai Airways Public Company Ltd. (Punpong Suwanvatin)
  • Qualitative Study of Mental Well-being in Thai Older Adults with Active Music Participation (Panicha Ponprasit)
  • Psychometric Properties of the Highly Sensitive Person Scale in Thai Culture: The Preliminary Study in Undergraduate Students (Arpapond Ussanarassamee)

Main Symposium at Main Hall

  • Stress, Post-Traumatic Growth, Coping Strategies of Cyber-bullying victims during the COVID-19 pandemic in Thailand. (Nattasuda Taephant)
  • Understanding Buddhist Teachings about the Three Characteristics of Existence: The Development and Validation of the Mindfulness Insight Scale. (Somboon Jarukasemthawee)
  • A Casual Relationship Model of Mental Well-being of Thai Older Adults Aging in Place (Juthatip Wiwattanapantuwong)

 

อาจเป็นรูปภาพของ 7 คน และ ผู้คนกำลังยืน อาจเป็นรูปภาพของ 3 คน และ ผู้คนกำลังยืน
อาจเป็นรูปภาพของ 2 คน และ ผู้คนกำลังยืน อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน
อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน อาจเป็นรูปภาพของ 5 คน และ ผู้คนกำลังยืน

แบบสำรวจสุขภาวะทางใจของบุคลากร จุฬาฯ

ประชาสัมพันธ์สำหรับบุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

** แบบสำรวจสุขภาวะทางใจของบุคลากร จุฬาฯ **

 

ขอเชิญบุคลากร จุฬาฯ ร่วมเป็นส่วนในโครงการ CU Sustainable Well-Being: เสริมสร้างสุขภาวะอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาแนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะกายและใจในสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านการตอบแบบสอบถามสุขภาวะทางใจ

 

แบบสอบถามฉบับนี้จัดทำขึ้นโดย ศูนย์ประเมินทางจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรึกษาด้านสุขภาพจิตแก่บุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระยะที่ 5 ปีงบประมาณ 2565 ภายใต้โครงการ “CU Sustainable Well-Being: เสริมสร้างสุขภาวะอย่างยั่งยืน” โดยความร่วมมือจากศูนย์สุขภาวะทางจิต ศูนย์ประเมินทางจิตวิทยา คณะจิตวิทยา และศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

แบบสอบถามประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ

  1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป
  2. แบบสำรวจความคิดและความรู้สึกในการใช้ชีวิต

 

สามารถทำแบบสอบถามผ่านการสแกน QR code หรือผ่าน LINK

 

 

 

แบบสอบถามใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที

 

ทั้งนี้ข้อมูลและคำตอบทั้งหมดของท่านจะถูกปกปิดเป็นความลับ โดยข้อมูลส่วนตัวของท่านจะไม่ปรากฏในรายงานและไม่ถูกเผยแพร่ด้วยวิธีใดๆ

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์ประเมินทางจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาฯ

Email: psyassesscu@gmail.com

Here to Heal Online Workshop : บริหารใจให้มีสุข

Mind management: Stress & Happiness
บริหารใจให้มีสุข

 

Here to Heal ชวนกันมาฝึกทักษะบริหารความเครียดอย่างไรให้ได้งาน เรียนรู้การดูแลตนเองแบบใช้ได้ทันที ใน Online Workshop ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ในหัวข้อเรื่อง “บริหารใจให้มีสุข”

 

โดยวิทยากร ดร.สหรัฐ เจตมโนรมย์

นักจิตวิทยาการปรึกษาจากสถาบันวันที่ฉันตื่น

 

วันอาทิตย์ที่ 21 ส.ค. 2565 เวลา 13.30-15.30 น.

 

สามารถลงทะเบียนได้ ที่นี่  หรือสามารถสแกน QR Code ในภาพ

 

 

 

โดยทางทีมงานจะจัดส่งลิงก์ Zoom ให้ผู้ลงทะเบียนทุกท่านในวันเสาร์ที่ 20 เวลา 15.00 น. ผ่านทาง Email ที่ใช้ลงทะเบียนเข้าร่วม หรือหากไม่ได้รับอีเมลสามารถทักสอบถามข้อมูลที่ Line official Account

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://lin.ee/P77s2bW
ในเวลาทำการ 10.00-22.00 น.

 

 


 

Workshop นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Here to Heal โดยคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สสส.
เป็นโครงการให้บริการแชทพูดคุยกับนักจิตวิทยา ฟรี
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อผ่าน Line official หรือทาง Facebook Page: Here to Heal เพื่อนัดหมายเวลาพูดคุยได้เลยค่ะ

Here to Heal: “When movie calls the heart” เมื่อหนังสื่อสารกับหัวใจ

“When movie calls the heart”

เมื่อหนังสื่อสารกับหัวใจ

 

Here to Heal ชวนกันมาพูดคุย เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเชื่อมโยงจากหนังสู่ใจ และร่วมสัมผัสการเข้าใจตนและฟื้นฟูใจไปพร้อมกับหนังเรื่องโปรดของคุณ ใน Online Workshop (Zoom) ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

 

ในหัวข้อเรื่อง “เมื่อหนังสื่อสารกับหัวใจ”

 

โดยวิทยากร คุณชิดชนก จินตนาวุฒิ

ผู้พัฒนากลุ่มพัฒนาตนโดยมีภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง

 

วันเสาร์ที่ 20 ส.ค. 2565 เวลา 10.00-12.00 รับจำนวนจำกัด 30 คน

 

สามารถลงทะเบียนได้ที่ Registration

หรือสามารถสแกน QR Code ในภาพ

 

 

 

โดยทางทีมงานจะจัดส่งลิงก์ Zoom ให้ผู้ลงทะเบียนทุกท่านในวันศุกร์ที่ 19 ส.ค. 2565 เวลา 15.00 น. ผ่านทาง Email ที่ใช้ลงทะเบียนเข้าร่วม หรือหากไม่ได้รับอีเมลสามารถทักสอบถามข้อมูลที่ Line official Account

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://lin.ee/P77s2bW
ในเวลาทำการ 10.00-22.00 น.

 


 

Workshop นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Here to Heal โดยคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สสส.
เป็นโครงการให้บริการแชทพูดคุยกับนักจิตวิทยา ฟรี
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อผ่าน Line official หรือทางเพจเฟซบุ๊ก Here to Heal เพื่อนัดหมายเวลาพูดคุยได้เลยค่ะ

การสัมมนาเรื่อง “จิตวิทยากับการเติมพลังกายพลังใจ เติมไฟให้การเรียนและการทำงานจากภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome)”

ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส. จุฬา) จัดกิจกรรมในงานสัปดาห์ความปลอดภัย

#ChulaSafety2022 : สร้างสังคมดี มีสุขด้วยวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกัน (Creating Well-Being Community with Preventive Safety Culture) ⏰ ระหว่างวันที่ 15 – 16 ส.ค. 2565

 

โดยในวันที่ 16 สิงหาคม 2565 เวลา 9.00-12.00 น. มีการสัมมนาเรื่อง
“จิตวิทยากับการเติมพลังกายพลังใจ เติมไฟให้การเรียนและการทำงานจากภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome)”

โดยวิทยากร อาจารย์ ดร.เจนนิเฟอรื ชวโนวานิช

หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จิตวิทยาตะวันตก-ตะวันออก และประธานแขนงวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

 

ณ อาคารมหาธีรราชานุสรณ์ สำนักงานวิทยทรัพยากร (หอสมุดกลาง) จุฬาฯ ชั้น 1

และผ่านระบบออนไลน์ (zoom) โดย Live ผ่านเพจเฟซบุ๊กศปอส. จุฬาฯ SHECU

 

 

https://www.facebook.com/SHECU2560/videos/1054461405185512/

 

 

เอกสารประกอบการสัมมนา ที่นี่

 


#ChulaSafety2022 #เป็นมิตรห่วงใยมุ่งสู่ความปลอดภัยอย่างยั่งยืน
#CHULA #SHECU

การเสวนา “Reasonable Accommodation : จะดูแลนิสิตอย่างไรไม่ให้ร่วงหล่นจากระบบการศึกษา”

Reasonable Accommodation : จะดูแลนิสิตอย่างไรไม่ให้ร่วงหล่นจากระบบการศึกษา

การเสวนาเพื่อถอดบทเรียนแนวทางในการให้การช่วยเหลือนิสิตที่ข้อจำกัดด้านร่างกายและจิตใจ
มาร่วมเรียนรู้วิธีการดูแลนิสิตไปพร้อมกันกับวิทยากร
ผศ.ดร. ปารีณา ศรีวนิชย์
คณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.พนิตา เสือวรรณศรี
ประธานแขนงวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2565 เวลา 10:00 – 12:00 น. อบรม Online ผ่าน Zoom เปิดรับไม่จำกัดจำนวน
สมัครได้ที่ https://chula.wellness.in.th/workshop/35
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Inbox Page : Chula Student Wellness – CUSW

ศูนย์ Life Di จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างเสริม ปรับและเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมในวัยเด็ก ให้แก่สมาชิกเครือข่ายความร่วมมือในจังหวัดเชียงใหม่”

จบลงไปแล้วกับโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการ เรื่อง “การสร้างเสริม ปรับและเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมในวัยเด็ก ให้แก่สมาชิกเครือข่ายความร่วมมือในจังหวัดเชียงใหม่” ที่ทางศูนย์จิตวิทยาพัฒนาการและความสัมพันธ์ระหว่างวัย (Life Di) คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดขึ้น ณ ห้องประชุม เทศบาลตำบลหนองตองพัฒนา อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ในระหว่างวันที่ 15 ถึงวันที่ 17 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา

 

โดยกิจกรรมนี้ จัดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างศูนย์ Life Di คณะจิตวิทยา เทศบาลตำบลหนองตองพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ และสถานสงเคราะห์เด็กบ้านเวียงพิงค์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 50 ท่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กใหม่ ให้มีความรู้ความเข้าใจในด้านการปรับพฤติกรรมเด็ก จริยธรรมการทำงานกับเด็ก และมีทักษะการดูแลจิตใจเมื่อเผชิญกับภาวะความเครียดในการทำงานกับเด็ก

 

การจัดอบรมในครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการปรับพฤติกรรมในเด็ก รวมถึงได้ทำแบบฝึกหัดวิเคราะห์พฤติกรรมเด็กและได้เรียนรู้การสร้างโปรแกรมปรับพฤติกรรมเด็กให้มีความเหมาะสมอย่างเข้มข้น นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมอบรมยังได้รับความรู้ในเรื่องของจริยธรรมการทำงานกับเด็กและผู้ปกครองมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง ยังได้รับความรู้เกี่ยวกับทักษะการดูแลใจเชิงจิตวิทยาในผู้ปฏิบัติงานด้านพัฒนาการในระดับที่มากขึ้นเช่นเดียวกัน

 

ท่านสามารถติดตามข่าวสารการจัดอบรมที่น่าสนใจจาก Life Di ได้ทาง Facebook : Chulalifedi เพื่อที่จะได้ไม่พลาดโครงการที่น่าสนใจที่จะจัดขึ้นในครั้งต่อ ๆ ไปค่ะ 😊

 

สอบถามข้อมูลได้ที่ Line ID : @chulalifedi

Facebook : https://www.facebook.com/ChulaLifeDi

หรือโทรศัพท์ 02-2181339

 

 

ศูนย์ Life Di จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างเสริม ปรับ และเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมในวัยเด็ก”

ในวันที่ 2 ถึง 5 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ทางศูนย์จิตวิทยาพัฒนาการและความสัมพันธ์ระหว่างวัย (Life Di) คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างเสริม ปรับ และเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมในวัยเด็ก” เพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่บุคลากรของกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) ณ ห้องประชุมสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

 

การอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนงานตาม (MOU) ระหว่างกรมกิจการเด็กและเยาวชน กับคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์จิตวิทยาพัฒนาการและความสัมพันธ์ระหว่างวัย และเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และความเข้าใจวิธีการปรับพฤติกรรมในเด็ก จริยธรรมการทำงานกับเด็ก และผู้ปกครอง และทักษะการดูแลจิตใจเชิงจิตวิทยาในผู้ปฏิบัติงานด้านพัฒนาการ

 

การอบรมในครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมนั้นเป็นเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านการดูแลเด็กจาก 4 หน่วยงาน ได้แก่ สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนบ้านปากเกร็ด สถานสงเคราะห์เด็กชายปากเกร็ด และสถานแรกรับเด็กชายปากเกร็ด โดยมีวิทยากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาหลากหลายท่านเป็นผู้บรรยายในการอบรมครั้งนี้ ซึ่งผู้เข้ารับการอมรบในครั้งนี้ได้รับความรู้อย่างเต็มที่ และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปปรับใช้ในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 🌻💖

 

ในอนาคตทางศูนย์ Life Di ของเราจะยังดำเนินการจัดกิจกรรม ดี ๆ อย่างต่อเนื่อง ท่านสามารถติดตามข้อมูลและข่าวสารจากศูนย์ Life Di ของเราได้จากช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

 

💻 Facebook : Chulalifedi หรือ www.chulalifedi.com

📱 Line ID : @chulalifedi หรือ โทรศัพท์ 02-2181339

 

ศูนย์ Life Di จัดกิจกรรม Life Di Hackathon: Mental Health Innovation Challenge 2022

📍จบลงไปแล้วสำหรับกิจกรรม 👉🏼 Life Di Hackathon: Mental Health Innovation Challenge 2022 ที่ทางศูนย์จิตวิทยาพัฒนาการและความสัมพันธ์ระหว่างวัย (Life Di) คณะจิตวิทยาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 2 ถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมานี้🗓

 

กิจกรรม Life Di Hackathon ในครั้งนี้ได้รับการตอบรับและความสนใจจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างล้นหลาม โดยตลอดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมได้มีวิทยากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้ คำแนะนำ และคำปรึกษาแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรม Life Di Hackathon ของทางศูนย์ฯ ต่างได้รับความรู้ ความสนุก และแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เกี่ยวกับด้านจิตวิทยาพัฒนาการกลับไปอย่างเต็มเปี่ยม ♥️💖🌻

 

ในอนาคตทางศูนย์ Life Di ของเราจะยังดำเนินการจัดกิจกรรม ดี ๆ เช่นเดียวกันกับกิจกรรม Hackathon ในครั้งนี้อย่างต่อเนื่อง ท่านใดที่สนใจจะเข้าร่วมกิจกรรมดี ๆ แบบนี้สามารถติดตามศูนย์ Life Di ของเราได้ตามช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น 📌💻 Facebook : Chulalifedi หรือ www.chulalifedi.com รวมถึง 📱☎️ Line ID : @chulalifedi และ โทรศัพท์ 02-2181339 เพื่อที่ท่านจะได้ไม่พลาดกิจกรรมดี ๆ ที่ทางศูนย์ของเราจะจัดขึ้นในอนาคต ✨

 

 

ศูนย์ Life Di จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการในรูปแบบออนไลน์ในหัวข้อ “การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสำรวจ ประจำปี 2565”

ศูนย์ Life Di คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการในรูปแบบออนไลน์ในหัวข้อ “การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสำรวจ ประจำปี 2565” เมื่อวันที่ 23-30 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นให้บุคคลทั่วไปที่สนใจในเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถมาเข้าร่วมการอบรม โดยมี รศ.สักกพัฒน์ งามเอก อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเป็นวิทยากร

 

การจัดอบรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมนั้นมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อการวิจัยที่มากยิ่งขึ้น ผ่านเนื้อหาการอบรมที่เข้มข้นและฝึกฝนการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติให้เหมาะสมกับการวิจัย📚

 

ผู้ที่พลาดการอบรมในครั้งนี้ ท่านสามารถติดตามข่าวสารการจัดอบรมที่น่าสนใจจาก Life Di ได้ทาง Facebook : Chulalifedi เพื่อที่จะได้ไม่พลาดโครงการที่น่าสนใจที่จะจัดขึ้นในครั้งต่อ ๆ ไปค่ะ 

 

สอบถามข้อมูลได้ที่ Line ID : @chulalifedi

Facebook : https://www.facebook.com/ChulaLifeDi 

หรือโทรศัพท์ 02-2181339