รายได้ การเปรียบเทียบ และความสุข

01 Jan 2017

บริการวิชาการ

 

รายได้ การเปรียบเทียบ และความสุข

 

: ข้อมูลจากผู้มีรายได้ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ประกอบอาชีพข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานบริษัท เพศหญิงและเพศชาย จำนวน 810 คน

 

จากงานวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบทางสังคมกับบุคคลอื่น เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสุขเชิงอัตวิสัยที่แตกต่างกัน โดยบุคคลที่มีการเปรียบเทียบทางสังคมกับบุคคลอื่นที่ประสบความสำเร็จน้อยกว่ามีความสุขเชิงอัตวิสัยมากกว่าบุคคลที่มีการเปรียบเทียบทางสังคมกับบุคคลอื่นที่ประสบความสำเร็จมากกว่า

 

ตัวแปรรายได้ก็เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสุขเชิงอัตวิสัยแตกต่างกัน บุคคลที่มีรายได้สูงมีความสุขเชิงอัตวิสัยมากกว่าบุคคลที่มีรายได้ต่ำ

 

ในกรณีที่นำตัวแปรด้านรายได้มาร่วมกับตัวแปรการเปรียบเทียบทางสังคมจะเห็นว่า บุคคลที่มีรายได้สูงและมีการเปรียบเทียบทางสังคมกับบุคคลอื่นที่ประสบความสำเร็จน้อยกว่าจะประเมินความสุขเชิงอัตวิสัยในระดับสูงที่สุด และบุคคลที่รายได้ต่ำและมีการเปรียบเทียบทางสังคมกับบุคคลอื่นที่ประสบความสำเร็จมากกว่าจะประเมินความสุขเชิงอัตวิสัยในระดับต่ำที่สุด

 

แต่ถ้าอยู่ในเงื่อนไขการเปรียบทางสังคมกับบุคคลอื่นที่ประสบความเร็จมากกว่า บุคคลรายได้สูงและบุคคลที่มีรายได้ต่ำมีความสุขเชิงอัตสิวัยไม่แตกต่างกัน

 

 

 

หมายเหตุ :

 

ความสุขเชิงอัตวิสัย หมายถึง การประเมินชีวิตโดยภาพรวมของบุคคลตามมาตรฐานของตน คือ มีความพึงพอใจในชีวิต มีอารมณ์ทางบวกมาก และมีอารมณ์ทางลบน้อย

 

บุคคลที่มีรายได้สูง คือ มีรายได้ที่ระดับมากกว่า 30,001 บาท/เดือน
ส่วนบุคคลที่มีรายได้ต่ำ คือ มีรายได้ที่ระดับ 7,001 – 20,000 บาท/เดือน
โดยเป็นรายได้ที่บุคคลได้รับโดยสม่ำเสมอ ที่ไม่รวมรายได้อื่นๆ

 

 


 

 

ข้อมูลจาก

 

“อิทธิพลของการเปรียบเทียบทางสังคมและรายได้ต่อความสุขเชิงอัตวิสัย”
“Effects of social comparison and income on subjective well-being”

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) สาขาวิชาจิตวิทยาสังคม คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2551)
โดย นางสาวพัชรี ศุภดิษฐ์

ที่ปรึกษา รศ. ดร.ธีระพร อุวรรณโณ

วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21590

Share this content